วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประติมากรรมไทย


ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมไทย Thai Sculpture หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบ เข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูงมักทำ เป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ 

ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้

 ความเป็นมาของประติมากรรมไทย

การสร้างงานประติมากรรมของมนุษย์เรามาแต่โบราณกาล เช่น การนำกระดูกสัตว์มาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ หรือ การนำหินมาแกะสลักเป็นรูปเคารพ หรือปั้นดินเหนียวเป็นรูปข้าทาสบริวาร รูปช้างม้า แล้วเผาไฟจนกลายเป็นดินเผาไว้ในบริเวณหลุมศพของจักรพรรดิ ซึ่งเป็นคติอย่างหนึ่งของจีนในอดีต สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประติมากรรม เกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ เพื่อใช้ประโยชน์จากประติมากรรมต่อมาเมื่อศาสนาเกิดขึ้นในโลก ความศรัทธาในศาสนาของมนุษย์ เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างรูปเคารพ รูปศาสดาของแต่ละศาสนาตลอดจนถึงรูปสัญลักษณ์ประจำศาสนา เช่น พระพุทธรูปต่างๆ เป็นต้น



วิวัฒนาการของศิลปะสากล

 

ศาสตราจารย์ศิลป์    พีระศรี    

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิวัฒนาการของศิลปะสากลตั้งแต่สมัยกลาง ถึง สมัยใหม่ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของกรีก-โรมัน

1.หัวเสาแบบกรีก มี 3 แบบ ได้แก่

  

2.วิหารพาร์เธนอน ( Parthenon ) ในกรุงเอเธนส์ สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมดอริก

 

3.วิหารแพนธีออน ( Pantheon ) เก่า ของชาวโรมัน เป็นวิหารที่มีการใช้หลังคาโค้งทำให้อาคารมีขนาดกว้างมากกว่าในสมัยกรีก

 

 วิหารแพนธีออน ( Pantheon ) ของโรม อิตาลี


 Ancient Roman Architecture : Arch of Constantine (โรมัน)ซุ้มโค้งแบบโรมัน ช่วยแก้ปัญหาการรับน้ำหนักของอาคารขนาดใหญ่

วิวัฒนาการของศิลปะสากล

ศิลปะสมัยกลาง ( Middle Age )

1. โบสถ์เซนต์โซเฟีย St.Sophia   ค.ศ.532-537เป็นสถาปัตยกรรมแห่งการผสมผสาน นับเป็นแหล่งรวมลักษณะความโดดเด่นของกรีก โรมันและลักษณะตะวันออก แบบอาหรับ หรือเปอร์เซีย ไว้ในผลงานชิ้นเดียวกันได้อย่างกลมกลืน

 

2. ภาพขบวนแถวของนักบวช ประมาณปี ค.ศ.560เป็นภาพ โมเซอิค ( Mosaic ) คือใช้กระเบื้องเคลือบชิ้นเล็กๆมาประกอบกัน  

 

3. ภาพพระแม่แห่งวลาดิเมียร์ Vladimir   ประมาณปี ค.ศ.1125เป็นงานจิตรกรรมที่เขียนสีลงบนแผ่นไม้ไว้สำหรับเคารพบูชาในบ้าน เรียกว่า ไอคอน (Icon) 


วิวัฒนาการของศิลปะสากล

2.) ศิลปะโกธิค ( Gothic )คริสต์ศตวรรษที่ 12-15 ในประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมสมัยโกธิค คือ มีลักษณะสูงชลูด และส่วนที่สูงที่สุดของโบสถ์จะเป็นที่ตั้งของกางเขนอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะเป็นที่ติดต่อกับพระเจ้าบนสรวงสวรรค์ ได้แก่ 

1.วิหารโนเตรอ-ดาม ( Notre-Dame) กรุงปารีส ฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
โปรดให้ถ่ายแบบแล้วนำมาสร้างไว้ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 The west front at sunset. วิหารนอเตรอ-ดาม


The North Rose Window. ภาพประดับกระจกสี (Stain Glass)  


วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา

2.ถนนไปสู่รูปเคารพ โดย ไซมอน มาตินี ค.ศ.1340 พ.ศ.1883เป็นงานจิตรกรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา
ในรูปแบบของภาพวาดแบบเหมือนจริง  

 3. ภาพคนดีแห่งซามาเลีย เป็นภาพกระจกสีที่ตกแต่งวิหารโนเตรอ-ดาม(Notre-Dam)เล่าเรื่องราวความเป็นมาของอาดัมกับอีฟในคัมภีร์เก่าภาพกระจกสีนับเป็นส่วนหนึ่งของอาคารทางสถาปัตยกรรมของศาสนาคริสต์ หากแสงส่องในเวลากลางวันผู้ที่อยู่ภายในอาคารก็จะสัมผัสกับสีสันอันสดใสส่งเสริมบรรยากาศให้แลดูศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นเฉกเช่นในเวลากลางคืนที่แสงสว่างจากภายในก็จะสะท้อนแสงสีอันงดงามมลังเมลืองแก่ผู้พบเห็นที่อยู่ภายนอก  

 4. รูปเซนต์แฟร์แมง St.Fermin ( ค.ศ. 1225 ) เป็นประติมากรรมตกแต่งวิหารอาเมียงส์ สะท้อนเรื่องราวทางศาสนา และลักษณะโครงสร้างที่สูงชะลูด


3.) ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ( Renaissance )
คริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุโรปมีความตื่นตัวทางด้านการพาณิชย์และแสวงหาดินแดนในโลกใหม่อันนำมาซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคม ส่วนในทางศิลปะนั้นศิลปินมีความกล้าที่จะแหวกวงล้อมของอิทธิพลศิลปะโกธิคไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส การค้นพบกระบวน การพิมพ์หนังสือของ กูเตนเบอร์กและฟุสท์  อิตาลี ถือว่าเป็นศูนย์กลางของความเจริญก้าวหน้าที่สำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของศิลปกรรม

ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย

       เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ  พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๑๘ เมืองสำคัญทางศิลปะของสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเก่า กำแพงเพชร  และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก  ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบสมัยลพบุรีคือพุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง   วัสดุที่นำมาสร้างศิลปะประติมากรรม  มี  ปูนเพชร (ปูนขาวแช่น้ำจนจืดผสมกับทรายที่ร่อนละเอียด  ยางไม้  และน้ำอ้อยนำมาโขลกให้เหนียวแล้วนำมาปั้น  เมื่อแห้งจะแข็งและทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก) ดินเผา ไม้โลหะสำริด และทองคำ แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัย แบ่งเป็น ๔ ยุค คือ

 สุโขทัยยุคที่ ๑

        ประติมากรรมในยุคนี้ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะ ลพบุรี ที่เห็นได้ชัด คือภาพปูนปั้นลวดลายประดับประตูรั้วทางเข้าองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุโขทัย ลายปูนปั้นประดับเสาไต้หรือเสาประทีป การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่เรียกกันว่า "แบบวัดตะกวน" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน มีพระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา  พระวรกายและชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน

 

ลวดลายปูนปั้นประดับเสาไต้หรือเสาประทีป หน้าพระระเบียงพระมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัย

สุโขทัยยุคที่ ๒

          สุโขทัยยุคที่ ๒ ในยุคนี้ฝีมือการสร้างประติมากรรมของช่างไทยเชี่ยวชาญขึ้น พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูปจนก่อรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง นับเป็นศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้มากมายตั้งแต่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระอัฏ-ฐารส พระอัจนะ จนถึงพระบูชาขนาดเล็ก และพระพิมพ์

          ภาพปูนปั้นที่มีชื่อเสียงคือ ภาพปูนปั้นปางเสด็จจากดาวดึงส์ ในซุ้มด้านทิศใต้ของมณฑปวัดตระพังทองหลาง ภาพปูนปั้นประดับหน้าบันซุ้มปรางค์ทิศวัดมหาธาตุสุโขทัย ซึ่งเป็นภาพพุทธ-ประวัติประกอบลวดลายหน้ากาล มกร และกินนรและภาพปูนปั้นฐานเจดีย์ วัดเจดีย์สี่ห้อง ซึ่งเป็นภาพเทพ นางอัปสรยื่นมือถือหม้อ ต้นไม้ ดอกไม้และภาพราชสีห์นั่งบนคอช้าง หมอบโผล่จากฐานเจดีย์


พระศากยสิงห์ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน ประดิษฐานที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

สุโขทัยยุคที่ ๓

          สุโขทัยยุคที่     การปั้นพระพุทธรูปในยุคนี้พัฒนาไปจากศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ มีความประณีต ดูเสมือนมีระเบียบและกฎเกณฑ์มากขึ้นพระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น  พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลงพระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาวนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว  พระพุทธรูปที่สำคัญๆ  ในยุคนี้คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น

          ประติมากรรมปูนปั้นประดับพุทธสถานเป็นภาพแบบอุดมคติ เพิ่งพัฒนารูปแบบตนเองให้หลุดพ้นไปจากธรรมชาติ เช่น ภาพลวดลายปูนปั้นผนังวิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย สุโขทัยภาพลวดลายสลักบนไม้ปลู  ประดับเพดานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง สุโขทัยเป็นต้น ในยุคนี้ยังพบประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับอาคารพุทธสถานประเภทช่อฟ้า บราลีหัวนาค หัวมกร ยักษ์ และเทวดา ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของสุโขทัยอยู่เป็นจำนวนมาก


พระอัฏฐารส วัดสะพานหิน จังหวัดสุโขทัย พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ศิลปะสุโขทัย

 สุโขทัยยุคที่ ๔

          สุโขทัยยุคที่  ๔ เป็นยุคที่ประติมากรรมสมัยสุโขทัยถูกกลืนไปกับอิทธิพลของศิลปะอยุธยาเมื่อราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๙๘๑นับเป็นสุโขทัยยุคเสื่อม  แม้มีการสร้างศิลปะในชั้นหลังก็เป็นสกุลศิลปะเล็กๆ พระพุทธรูปมีความกระด้างขึ้น ทั้งท่าทาง ทรวดทรง มักสร้างพระพุทธรูปยืน พระสำคัญในยุคนี้ เช่น พระอัฏฐารส วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

 ประติมากรรมไทยสมัยอู่ทองและสมัยอยุธยา

            ประติมากรรมสมัยอู่ทองเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในสมัยอโยธยาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐-๑๘๙๗ และประติมากรรมสมัยอยุธยาเกิดขึ้นประมาณ  พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐  ประติมากรรมอู่ทองปูรากฐานให้แก่ประติมากรรมสมัยอยุธยาตอนต้นโดยตรงเพราะศิลปะอู่ทองมีการทำสืบต่อไปจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

อู่ทองและอยุธยายุคต้น

               อู่ทองและอยุธยายุคต้น ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะผสมผสานพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สมัยลพบุรี และศิลปะของชนพื้นเมืองอโยธยาเอง มีพุทธลักษณะเด่นชัดคือวงพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม มีไรพระศกเป็นกรอบวงพักตร์พระหนุป้านเป็นรูปคางคน พระนาสิกเป็นสันคม พระขนงชัดเจนเป็นเส้นกระด้างคล้ายปีกนกบรรจบกัน  ปริมาตรของพระพักตร์ดูแบนขมวดพระเกศามีขนาดเล็กเป็นจุด พระรัศมีมีทั้งทำอย่างเป็นต่อมและทำเป็นเปลว ผ้าครองทำชายสังฆาฏิยาวนิยมนั่งขัดสมาธิราบ ฐานหน้ากระดานเป็นร่องและแอ่นเข้าข้างใน เนื้อโลหะสำริดหล่อได้บางเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปสลักศิลา เช่น พระพุทธรูปที่พระระเบียงวัดมหาธาตุ ลพบุรี พระพุทธรูปที่วิหารหน้าสถูปใหญ่วัดนครโกษา ลพบุรี และพระพุทธรูปที่วัดใหญ่ชัยมงคล  อยุธยา เป็นต้น

          ภาพสลักศิลาและภาพปูนปั้นต่างๆ ลักษณะลายเป็นแบบประดิษฐ์มากกว่าสมัยลพบุรี  ลายสลักศิลารอบฐานชุกชีในพระวิหารใหญ่หน้าพระปรางค์วัดมหาธาตุ อยุธยา เป็นลายขมวดเถาไม้ใบไม้ กลีบบัว ลวดลายยังเป็นแบบกึ่งประดิษฐ์กึ่งธรรมชาติ ยังไม่เข้ารูปเป็นลายกนกเลยทีเดียว



 

พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทอง

อยุธยายุคกลาง

          อยุธยายุคกลาง  การปั้นพระพุทธรูปยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย มักทำวงพระพักตร์และพระรัศมีตามแบบสุโขทัย  แต่มีไรพระศกเส้นเล็กๆ ทำสังฆาฏิขนาดใหญ่ ชายสังฆาฏิตัดเป็นเส้นตรง  พระพุทธรูปทำจากปูนปั้น สลักหินและหล่อด้วยโลหะ ส่วนมากนิยมทำพระพุทธรูปปางมารวิชัยและพระอิริยาบถแบบต่างๆ ตามแบบสุโขทัย พระพุทธรูปนั่งที่มีขนาดใหญ่และถือเป็นแบบฉบับของพระพุทธรูปสมัยนี้คือ พระมงคลบพิตร อยุธยา นอกจากนั้นมักทำพระพุทธรูปขนาดกลาง มีฐานชุกชีสูง เช่น พระประธานพระอุโบสถวัดไชยวัฒนาราม อยุธยา และวัดพระพุทธบาท สระบุรี พระนอนที่สำคัญ คือ พระนอนที่วัดโลกยสุธา อยุธยา พระนอนที่วัดป่าโมกข์อ่างทอง และพระนอนที่สิงห์บุรี พระยืนที่สำคัญคือพระโลกนาถ ประดิษฐานอยู่ที่วิหารทิศตะวันออก (มุขหลัง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามกรุงเทพมหานคร

          ลวดลายตกแต่งสถาปัตยกรรมที่สำคัญมีลายหน้าบันพระอุโบสถวัดราชบรรทม เป็นลายกนกขมวดเป็นก้นหอย ตรงกลางเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ซ้อนเป็นชั้น  ลายหน้าบันพระอุโบสถวัดพระพุทธบาท สระบุรี รูปนารายณ์ทรงครุฑ กนกเครือเถาล้อมรอบ  ทั้งองค์พระนารายณ์และครุฑท่าทางขึงขังทะมัดทะแมง  และบานประตูเจดีย์ ๓ องค์ วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ อยุธยา จำหลักรูปเทวดายืนถือพระขรรค์ ทรงเทริดเหนือเศียรเทวดา มีรูปคล้ายร่ม ในยุคนี้ไม่นิยมทำลวดลายประดับเจดีย์ คงลายปูนเกลี้ยงตั้งแต่ฐานถึงยอด

 

พระโลกนาถ ประดิษฐานอยู่ที่วิหารทิศตะวันออก (มุขหลัง)วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ศิลปะสมัยอยุธยา

อยุธยายุคปลาย

          อยุธยายุคปลาย ประติมากรรมพระพุทธรูปยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระ-มหากษัตริย์ โดยมีอยู่ ๒ แบบคือ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่และพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่มีชื่อเสียงมาก  คือพระประธานพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

          ศิลปะการสลักไม้และปั้นปูนประดับพุทธสถานของสมัยอยุธยายุคปลายฝีมือถึงขั้นที่มีความงามสูงสุด ลวดลายทำเป็นกนกอ่อนพลิ้วซ้อนกันปลายกนกสะบัดปลายบิดไปมาราวกับธรรมชาติของเถาไม้และใบไม้ที่อ่อนไหว ลวดลายต่างๆเริ่มประดิษฐ์เป็นแบบแผนเฉพาะตัวของไทยมากขึ้น  ลายแกะไม้ที่สวยงามคือ ลายหน้าบันวิหารวัดธรรมาราม อยุธยา หน้าบันพระอุโบสถวัดใหม่เทพนิมิตรธนบุรี และหน้าบันศาลาการเปรียญวัดเชิงท่า อยุธยา เป็นต้น ส่วนลายปูนปั้นที่มีชื่อเสียงคือลายหน้าบันพระอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐเพชรบุรี  ลายปูนปั้นที่ซุ้มวิหารหลวงวัดราชบูรณะอยุธยา และลายปูนปั้นที่ซากพระอุโบสถวัดภูเขาทอง  กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

 

พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระประธานพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

ประติมากรรมร่วมสมัย

          ประติมากรรมร่วมสมัย อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน  เป็นศิลปะที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเจริญแบบตะวันตก  ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ ในการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อสาธารณะประโยชน์ นอกเหนือจากการสร้างเพื่อศาสนาอย่างเดียว
          สมัยรัชกาลที่    ศิลปะตะวันตกเข้ามาสู่ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย  และกำลังฝังรากลึกลงไปในสังคมและวัฒนธรรมไทย  การตกแต่งวังเจ้านายอาคารราชการ อาคารพาณิชย์  สวนสาธารณะและอาคารบ้านเรือนของคนสามัญ    เริ่มตกแต่งงานจิตรกรรมและงานประติมากรรมภาพเหมือนมากขึ้น งานประติมากรรมไทยที่ทำขึ้นเพื่อศาสนา เช่น  การสร้างศาสนสถาน ปั้นพระพุทธรูป ที่เคยกระทำกันมาก็ถึงจุดเสื่อมโทรมลง แม้จะมีการทำกันอยู่ก็เป็นระดับพื้นบ้านที่พยายามลอกเลียนสิ่งดีงามในยุคเก่าๆ   ที่ตนนิยม  ขาดอารมณ์ความรู้สึกทางการสร้างสรรค์   และไม่มีรูปลักษณะที่เป็นแบบแผนเฉพาะยุคสมัย


ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี กำลังร่างรูปอนุสาวรีย์ในห้องทำงานส่วนตัวที่กรมศิลปากร

         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหันมาส่งเสริมศิลปะการช่างสมัยใหม่โดยตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๕๖ จัดสอนศิลปะการช่างทั้งแบบตะวันตกและแบบไทย การสร้างงานศิลปะระดับชาติได้จ้างฝรั่งมาออกแบบตกแต่งพระบรมมหาราชวังหรือพระที่นั่ง  ทรงเห็นความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างทำรูปปั้นต่างๆ   เช่นเหรียญตรา และอนุสาวรีย์ ซึ่งช่างไทยยังไม่ชำนาญงานภาพเหมือนขนาดใหญ่  จึงสั่งช่างปั้นมาจากประเทศอิตาลี   ผู้ได้รับเลือกคือศาสตราจารย์คอราโด เฟโรจี เข้ารับราชการเป็นประติมากรกรมศิลปากร  กระทรวงวัง เมื่อวันที่  ๑๔ มกราคม ๒๔๖๖  ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์เฟโรจีเข้าไปปั้นพระบรมรูปของพระองค์โดยใกล้ชิดเป็นพระบรมรูปเท่าพระองค์จริง  ปัจจุบันประดิษ-ฐานในปราสาทพระเทพบิดร  นับเป็นงานภาพเหมือนที่สำคัญในรัชกาลนี้  ต่อมาศาสตราจารย์เฟโรจี  ได้โอนสัญชาติและเปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่าศิลป พีระศรี   ท่านผู้นี้ต่อมามีความสำคัญต่อวงการศิลปกรรมไทยสมัยใหม่ทุกสาขาอย่างที่สุด


"ขลุ่ยทิพย์" ปั้นด้วยทองสำริด เขียน ยิ้มศิริ เป็นผู้ปั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ 
           รัชกาลที่ ๗ -  รัชกาลปัจจุบัน ระยะแรกศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นช่างปั้นที่สำคัญแต่ผู้เดียวในยุคนั้น   ได้ดำเนินการปั้นรูปอนุสาวรีย์พระปฐมบรมราชานุสรณ์เป็นภาพเหมือนขนาดใหญ่ ๓ เท่าคนจริงเป็นครั้งแรกในเมืองไทย  ส่งไปหล่อทองแดงที่ประเทศอิตาลี เสร็จทันมาติดตั้งที่เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า เพื่อเปิดสะพานและฉลองกรุงครบ ๑๕๐ ปีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
          หลังจากการฉลองกรุงไม่กี่วันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในประเทศไทยโดยคณะทหารและพลเรือน  อำนาจการปกครองและการบริหารประเทศจึงไม่ตกอยู่กับพระมหากษัตริย์อีกต่อไป การสร้างงานศิลปกรรมซึ่งแต่เดิมอยู่ในความดูแลของราชสำนัก ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมก็สิ้นสุดลง วิถีการดำเนินชีวิต  ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาด้านจิตใจโดยเฉพาะทางศิลปะ  การสร้างงานศิลปกรรมยุคต่อมาล้วนต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ในวงแคบๆ  แต่กระนั้นการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าในงานศิลปะยังดำเนินต่อไปโดยมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี  เป็นผู้นำ เพื่อทำให้ผู้นำประเทศและคนทั่วไปเห็นคุณค่า  ท่านต้องทำงานอย่างหนัก กล่าวคือ นอกจากงานปั้นอนุสาวรีย์ที่สำคัญแล้ว ท่านยังได้วางแนวทางการศึกษาศิลปะโดยหาทางจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น  เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๗๗  ซึ่งต่อมาขยายตัวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๘๖จัดให้มีการเรียนการสอนทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม  ซึ่งการศึกษาและการสร้างงานประติมากรรมต่อมาเปลี่ยนไปตามการพัฒนาวัฒนธรรมของสังคมที่ต้องการพึ่งพาพลังงานใหม่ๆ  ภายใต้อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจการเมืองและอื่นๆ  ซึ่งเป็นการก้าวหน้าแห่งยุคโดยเฉพาะในรัชกาลปัจจุบัน  การสื่อสารและการคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วถึงเกือบทุกมุมโลกมีลัทธิทางศิลปะเกิดขึ้นมากมายทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา และได้แพร่หลายเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยด้วย  ประติมากรรมจึงเข้าสู่รูปแบบของศิลปะร่วมสมัย    เป็นการแสดงออกทางด้านการสร้างสรรค์ที่มีอิสระทั้งความคิด  เนื้อหาสาระและเทคนิคการสร้างงาน สุดแต่ศิลปินจะใฝ่หางานศิลปะที่แสดงออกมานั้นจึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรม-ไทยอีกรูปแบบหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น