ชาวผู้ไทยตำบลโพนจะมีความรักในเชื้อสายของตนเองมากจากอดีตถึงปี ๒๕๒๕ จะเห็นได้จากวิถีชีวิตวัฒนธรรมการแต่งงาน คนผู้ไทยจะไม่ยอมรับคนต่างเชื้อสายเข้ามาเป็นสะใภ้หรือบุตรเขยเลย แต่เมื่อมีการขยายตัวทางโครงสร้างพื้นฐาน มีการจ้างแรงงาน มีการส่งบุตรหลานให้ไปทำงานไปศึกษาต่างถิ่น ก็มีการแต่งงานเข้าสู่ชุมชนเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน การรับเอาคนต่างเชื้อสายเข้าสู่ชุมชนผู้ไทยบ้านโพนเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่สำคัญประเพณีการแต่งงานยังรักษาวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยไว้อย่างดียิ่ง
การปลูกบ้านและการขยายครอบครัว เดิมนั้นผู้ไทยจะอยู่แบบครอบครัวใหญ่ มีปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า พ่อ แม่ และลูก ๆ หลาน ๆ รวมกันทั้งหมด มีการปลูกบ้านเป็นลักษณะบ้านผู้ไทยทั้งเรือนแฝด เรือนเกย แต่ปัจจุบันครอบครัวขยาย พอมีการแต่งงานคู่บ่าวสาว มักจะไปสร้างบ้านอยู่ต่างหาก ปัจจุบันนี้บ้านที่เป็นลักษณะดั้งเดิมของชาวผู้ไทยยังคงเหลือให้เห็นอยู่ประมาณ ๘-๑๐ หลังคาเรือน นอกนั้นเป็นบ้านสมัยใหม่และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือต้องหลังใหญ่ แต่ส่วนมากบ้นหลังใหญ่ ๆ จะมีเพียง ๑ ห้องเท่านั้น
ผู้ไทย | ผู้ลาว |
๑. การแต่งกาย ชายนุ่งโสร่ง, กางเกงขาสั้น (หัวรูด)
หญิง นุ่งซิ่นหมี่ ไหม, ฝ้าย ปัจจุบัน นุ่งซิ่นสีดำหรูหรา / แต่งตัวทันสมัยราคาแพง |
นุ่งกางเกงสมัยใหม่
นุ่งผ้าถุงสำเร็จ ไม่แพง / ธรรมดา |
๒. อาหาร นิยมรสชาดจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
|
นิยมรสชาดธรรมดาไม่จัดมาก
|
๓. ภาษา ใช้ภาษาผู้ไท (สนทนา)
|
ใช้ภาษาลาวอีสาน
|
๔. สภาพบ้านเรือน ใหญ่ / มั่นคง (ราคาแพง)
(ใต้ถุนสูง – สูงมาก) |
เล็ก / ไม่มั่นคง
|
๕. เศรษฐกิจ ร่ำรวยมีหัวค้าขาย
|
ค่อนข้างจน
|
๖. วัฒนธรรม รักษาประเพณีดั้งเดิมได้เข้มแข็ง
|
ไม่ค่อยสืบสานประเพณี / นิยมสมัยใหม่
|
๗. ความขยัน / อดทน มีมาก
|
ค่อนข้างน้อย
|
การวางผังที่อยู่อาศัยในชุมชนโพน
การปลูกบ้านของชาวผู้ไทยมักนิยมปลูกบ้านติดต่อกันอยู่ในเครือญาติ จะไม่นิยมปลูกห่างกันมากนัก เพราะส่วนมากหากมีการขยายครัวเรือนออกไปจะอยู่ในละแวกใกล้กันไม่เกิน ๑๐๐ เมตร และอาศัยรั้วเดียวกัน เดินไปมาหากันสะดวก ซึ่งจะมีซอยเล็ก ๆ เลียบไปตามชายบ้าน บางทีมีการปลูกบ้านขึ้นใหม่ก็ต้องลอดใต้ถุนบ้านไป ชาวผู้ไทยนิยมปลูกบ้านทรงสูง กินสูงมาก ใต้ถุนจะไว้เลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์การเกษตรใช้เป็นที่ทอผ้า บ้านที่อยู่ชุม (จุ้ม) หลาย ๆ หลัง มักมีลานบ้านไว้สำหรับนั่งคุย ปรึกษา ตลอดจนทำกิจกรรม เช่น จักสาน ฯลฯ ร่วมกันในบ้านโพนนั้นตระกูล “ศรีบัว” จะมีมากที่สุด หรือ “จุ้ม” ใหญ่ที่สุด รองลงมา คือ ตระกูล “ศรีบ้านโพน” ซึ่งมีเชื้อสายผู้ไทยแท้ และอยู่กันเป็นจุ้ม การตัดถนนในปัจจุบันจะตัดตามเส้นทางเดินเก่าซึ่งคับแคบมาก ส่วนใหญ่ในชุมชนรถยนต์วิ่งได้ทางเดียว
การปลูกบ้านของชาวผู้ไทยมักนิยมปลูกบ้านติดต่อกันอยู่ในเครือญาติ จะไม่นิยมปลูกห่างกันมากนัก เพราะส่วนมากหากมีการขยายครัวเรือนออกไปจะอยู่ในละแวกใกล้กันไม่เกิน ๑๐๐ เมตร และอาศัยรั้วเดียวกัน เดินไปมาหากันสะดวก ซึ่งจะมีซอยเล็ก ๆ เลียบไปตามชายบ้าน บางทีมีการปลูกบ้านขึ้นใหม่ก็ต้องลอดใต้ถุนบ้านไป ชาวผู้ไทยนิยมปลูกบ้านทรงสูง กินสูงมาก ใต้ถุนจะไว้เลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์การเกษตรใช้เป็นที่ทอผ้า บ้านที่อยู่ชุม (จุ้ม) หลาย ๆ หลัง มักมีลานบ้านไว้สำหรับนั่งคุย ปรึกษา ตลอดจนทำกิจกรรม เช่น จักสาน ฯลฯ ร่วมกันในบ้านโพนนั้นตระกูล “ศรีบัว” จะมีมากที่สุด หรือ “จุ้ม” ใหญ่ที่สุด รองลงมา คือ ตระกูล “ศรีบ้านโพน” ซึ่งมีเชื้อสายผู้ไทยแท้ และอยู่กันเป็นจุ้ม การตัดถนนในปัจจุบันจะตัดตามเส้นทางเดินเก่าซึ่งคับแคบมาก ส่วนใหญ่ในชุมชนรถยนต์วิ่งได้ทางเดียว
การปกครองและพัฒนาชุมชนจะแบ่งกันออกเป็นคุ้ม (จุ้ม) ในเขตเทศบาล แบ่งออกเป็น ๔ คุ้มใหญ่
ประกอบด้วย
๑. คุ้มมิตรสัมพันธ์
๒. คุ้มน้ำรวม
๓. คุ้มน้ำใจ
๔. คุ้มตะวันยอแสง
๑. คุ้มมิตรสัมพันธ์
๒. คุ้มน้ำรวม
๓. คุ้มน้ำใจ
๔. คุ้มตะวันยอแสง
การแบ่งคุ้มจัดให้มีคณะกรรมการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุ้มการตรวจสอบปัญหาของชุมชน เช่น ยาเสพติด ก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการในชุมชนโพน มีการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ไว้ ใช้ในการพบปะแลกเปลี่ยนทำกิจกรรมรวม ๙ แห่ง และถือว่าเป็นแหล่งที่รวมชนชั้น คือ ศาลาเอนกประสงค์ ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ซึ่งดำเนินการก่อสร้างปี ๒๕๔๕ จัดให้มีทั้งพิพิธภัณฑ์การปลูกบ้านต้นแบบของชาวผู้ไทย แบบต่าง ๆ มีศาลากิจกรรม ๒ หลัง และศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์และการสาธิต ซึ่งนำรายได้เข้าชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และยังสร้างชื่อเสียงให้ชุมชนในระดับชาติด้วย
วิถีชีวิตของชาวผู้ไทยและผู้ลาวในตำบลโพน ถึงแม้เชื้อสายสัมพันธ์จะแตกต่างกัน แต่การดำเนินกิจกรรมในชุมชน การพัฒนาชุมชนตลอดจนการสร้างชื่อเสียงให้ชุมชนทุกคนไม่ได้แบ่งว่าเป็นผู้ไทย ผู้ลาว เพียงการปกครองแบ่งเท่านั้น ทุกวันนี้วัฒนธรรมผู้ไทจะถูกผู้ลาวเข้าไปกลืนไปบ้างถึงไม่มาก แต่ต่อไปถ้าหากไม่รักษาวัฒนธรรมผู้ไทให้สืบสานต่อไปสู่อนุชนรุ่นหลังเห็นทีจะเลือนหายไป
การแต่งกาย
ปกติผู้ชายนุ่งผ้าด้วยตาเมล็ดงา สีดำ หรือนุ่งผ้าขาวม้าด้ายขาว สวมเสื้อด้ายสีดำ(ผ้าพื้นเมือง) หญิงนุ่งซิ่นใช้เสื้อสีดำ (ผ้าพื้นเมือง) ถ้าไม่สวมเสื้อแทนที่ จะห่มผ้าเอาแขนเสื้อผูกสะพายแล่งเฉียงบ่า ใช้แทนห่มผ้า เครื่องประดับของชายปกติไม่มี หญิงหากมีฐานะดีนิยมใส่ต่างหู (กระจอนหู) ทำด้วยเงินหรือทองสำริดใส่ประจำตัวเสมอ นิยมเกล้าผมมวยและมัดศรีษะด้วยผ้าแพรมนต์หรือผ้ามนต์ขีด (ผ้าพื้นเมือง) ส่วนผู้หญิงนุ่งซิ่นหมี่ไหม สวมเสื้อผ้าดำแขนยาวรูปเสื้อกระบอกติดลูกกระดุมถ้วยแถวหนึ่งประมาณ ๓๐-๔๐ เม็ด สมัยนี้บางคนนิยมใช้สตางค์ห้าหรือสตางค์สิบ ร้อยซ้อนกับลูกกระดุม ทำตามฐานะคนจนและคนมี เครื่องประดับกายมีลูกแก้ว ร้อยเป็นสายใช้คล้องคอผู้ข้อมือเกี่ยวหูพันผมหลายเส้น ใช้ทั้งหญิงและชาย พวกผู้หญิงยังเอาเงินบาท เหรียญสลึงและเงินต่างประเทศเจาะรูร้อยเป็นแถวคล้องคล้ายเสมาอีกด้วย ถ้าเป็นนักขัตฤกษ์ การทำบุญต่างบ้าน จะต้องเดินทางไปจากบ้าน พวกผู้หญิงจะต้องมีกะหยั่ง ใส่เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งตัว หวี กระจก แป้ง พร้อมไปด้วยทุกคน เมื่อเวลารับศีลพวกผู้หญิงจะต้องถอดเครื่องประดับออกกองไว้หมด เมื่อรับศีลแล้วจึงกลับแต่ตามเดิม ลักษณะร่างกายของคนพวกนี้ รูปพรรณสัณฐานเหมือนคนไทยธรรมดา เว้นแต่หญิงไว้ผมยาวทุกคน และสำเนียงพูดต่างกับคนไทยธรรมดา คล้ายกับสำเนียงพวกพม่า และถ้าสังเกตกิริยาที่เดินจะมีแปลกบ้าง โดยมากจะเป็นคนผิวขาว เนื้อหยาบ ท่าเดินท่าก้มๆ โดยสันนิษฐานว่าคนพวกนี้ชินกับการเดินทางขึ้นเขาลงเขาเสมอ
ปกติผู้ชายนุ่งผ้าด้วยตาเมล็ดงา สีดำ หรือนุ่งผ้าขาวม้าด้ายขาว สวมเสื้อด้ายสีดำ(ผ้าพื้นเมือง) หญิงนุ่งซิ่นใช้เสื้อสีดำ (ผ้าพื้นเมือง) ถ้าไม่สวมเสื้อแทนที่ จะห่มผ้าเอาแขนเสื้อผูกสะพายแล่งเฉียงบ่า ใช้แทนห่มผ้า เครื่องประดับของชายปกติไม่มี หญิงหากมีฐานะดีนิยมใส่ต่างหู (กระจอนหู) ทำด้วยเงินหรือทองสำริดใส่ประจำตัวเสมอ นิยมเกล้าผมมวยและมัดศรีษะด้วยผ้าแพรมนต์หรือผ้ามนต์ขีด (ผ้าพื้นเมือง) ส่วนผู้หญิงนุ่งซิ่นหมี่ไหม สวมเสื้อผ้าดำแขนยาวรูปเสื้อกระบอกติดลูกกระดุมถ้วยแถวหนึ่งประมาณ ๓๐-๔๐ เม็ด สมัยนี้บางคนนิยมใช้สตางค์ห้าหรือสตางค์สิบ ร้อยซ้อนกับลูกกระดุม ทำตามฐานะคนจนและคนมี เครื่องประดับกายมีลูกแก้ว ร้อยเป็นสายใช้คล้องคอผู้ข้อมือเกี่ยวหูพันผมหลายเส้น ใช้ทั้งหญิงและชาย พวกผู้หญิงยังเอาเงินบาท เหรียญสลึงและเงินต่างประเทศเจาะรูร้อยเป็นแถวคล้องคล้ายเสมาอีกด้วย ถ้าเป็นนักขัตฤกษ์ การทำบุญต่างบ้าน จะต้องเดินทางไปจากบ้าน พวกผู้หญิงจะต้องมีกะหยั่ง ใส่เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งตัว หวี กระจก แป้ง พร้อมไปด้วยทุกคน เมื่อเวลารับศีลพวกผู้หญิงจะต้องถอดเครื่องประดับออกกองไว้หมด เมื่อรับศีลแล้วจึงกลับแต่ตามเดิม ลักษณะร่างกายของคนพวกนี้ รูปพรรณสัณฐานเหมือนคนไทยธรรมดา เว้นแต่หญิงไว้ผมยาวทุกคน และสำเนียงพูดต่างกับคนไทยธรรมดา คล้ายกับสำเนียงพวกพม่า และถ้าสังเกตกิริยาที่เดินจะมีแปลกบ้าง โดยมากจะเป็นคนผิวขาว เนื้อหยาบ ท่าเดินท่าก้มๆ โดยสันนิษฐานว่าคนพวกนี้ชินกับการเดินทางขึ้นเขาลงเขาเสมอ
ภายในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ ยังมีสิ่งปลูกสร้างประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก
๑. สิ่งก่อสร้างทางศาสนาและความเชื่อ ได้แก่ วัด และหอมะเหสักข์ ซึ่งวัด (ในความหมายของชาวบ้านเรียกรวมถึงสำนักสงฆ์ด้วย) ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านส่วนหอมะเหสักข์ หอปู่ตา หรือศาลปู่ตา ถือเป็นสิงสถิตย์ของผีประจำหมู่บ้าน หรือผีบรรพบุรุษที่สำคัญที่จะช่วยคุ้มครอง ภัยภิบัติ ที่เกิดแก่หมู่บ้านตำแหน่งของหอมะเหสักข์ จะอยู่นอกหมู่บ้านหรือริมหมู่บ้านติดกับป่าสาธารณประโยชน์ (ชาวบ้านเรียกว่า “ดอน”) ด้านใดด้านหนึ่งของหมู่บ้าน
๒. สิ่งก่อสร้างทางสังคม แบ่งได้เป็น
๒.๑ โดยหมู่บ้านร่วมกันทำขึ้น ได้แก่ ศาลากลางบ้าน เป็นอาคารตั้งอยู่ริมถนนหรือที่เป็นย่านศูนย์กลางชุมนุมชน ใช้เป็นที่ประชุมหรือร่วมกิจกรรมด้านต่าง ๆ นอกจากนี้มีร้านค้าที่ทำเป็นเพิงเล็ก ๆ ขายของเบ็ดเตล็ดใช้เป็นที่รวมปรึกษากันระหว่างและแต่ละคุ้ม
๒.๒ โดยการพัฒนาจากทางราชการ ได้แก่ สถานีอานามัย ร้านสหกรณ์ประจำหมู่บ้านศาลาจอดรถริมทาง เป็นต้น
๒.๑ โดยหมู่บ้านร่วมกันทำขึ้น ได้แก่ ศาลากลางบ้าน เป็นอาคารตั้งอยู่ริมถนนหรือที่เป็นย่านศูนย์กลางชุมนุมชน ใช้เป็นที่ประชุมหรือร่วมกิจกรรมด้านต่าง ๆ นอกจากนี้มีร้านค้าที่ทำเป็นเพิงเล็ก ๆ ขายของเบ็ดเตล็ดใช้เป็นที่รวมปรึกษากันระหว่างและแต่ละคุ้ม
๒.๒ โดยการพัฒนาจากทางราชการ ได้แก่ สถานีอานามัย ร้านสหกรณ์ประจำหมู่บ้านศาลาจอดรถริมทาง เป็นต้น
๓..สิ่งก่อสร้างเพื่อการเกษตร ได้แก่ คอกหมู คอกเป็ด คอกไก่ และเล้าข้าว มีขนาดสัดส่วน และตำแหน่งไม่แนะนอน ตามแต่ฐานะของผู้เป็นเจ้าของ
การวางผังภายใน
การวางผังภายในคุ้มมีข้อน่าสังเกต คือ
๑. ในส่วนที่เป็นสวน หรือส่วนที่ปิดล้อมเนื้อที่ภายในคุ้ม นิยมล้อมด้วยต้นไม้ เช่น ต้นสะบู่ดำ (ไม้เยา) ไม้เป้า ต้นตะบองเพชร หรือกอไผ่
๒. ส่วนที่เป็นบ้านหากฐานะดี นิยมเสารั้วไม้แก่น (ไม้สองจับ) ใช้สิวเจาะต้นเสาให้ทะลุเป็นช่องใช้ไม้เนื้อแข็งสอดเป็นรั้วตามแนวนอน เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “รั้วหลักโคน” หากฐานะปานกลางนิยมใช้ไม้ผาดตามแนวรั้วกั้นเป็นเขตพอกั้นไม่ให้วัว ควาย เข้าไปทำให้พืชสวนเสียหายเท่านั้น
๓. ลักษณะของรั้วไม่ได้ป้องกันขโมยแต่อย่างใด ลักษณะการต่อเนื่องของรั้วจะมีบ้างและไม่มีบ้าง ซึ่งเป็นลักษณะหลวม ๆ ทั้ง ๔ ด้าน แต่ละด้านทางเข้าสู่ภายในคุ้ม ด้านละ ๒-๔ ทาง และเป็นตัวเชื่อมระหว่างภายนอกกับเนื้อที่ภายในคุ้ม
๔. ลานบ้าน ใช้เนื้อที่รอบ ๆ เรือนแต่ละหลัง ลานบ้านนอกจากจะเป็นตัวเชื่อมกับอาคารแล้วยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีก เช่น เป็นที่นั่งเล่นของเด็ก ตากผลิตผลทางการเกษตร พบปะสังสรรค์งานการละเล่นและพิธีกรรมของชาวบ้าน ผูกวัวควาย และใช้เป็นที่ตากฟืน
๕. ทางสัญจรภายใน อาศัยเนื้อที่ว่างและส่วนที่เป็นลานเป็นทางเดินติดต่อทางทะลุติดต่อกันภายในคุ้ม ดังนั้นทางสัญจรภายในจึงวกวนไปมาตามเนื้อที่ระหว่างอาคาร
๖. เล้าข้าวหรือยุ้งข้าว ใช้เป็นที่เก็บข้าวเปลือกของชาวบ้าน สร้างด้วยเสาไม้แก่น ฝาปิดทึบกันฝน ด้านหน้าทำประตูปิดด้วยแผ่นไม้วางซ้อนกันเป็นแผ่น ๆ หลังคานิยมมุงด้วยกระเบื้องไม้ ต่อมาพัฒนาเป็นมุงด้วยสังกะสี เรือนแต่ละหลังจะมีเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) ของตนเอง ห่างจากตัวเรือนพอประมาณโดยปกติเล้าข้าวนิยมปลูกติดกับริมรั้วด้านใดด้านหนึ่งซึ่งจัดไว้ต่างหาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เจ้าของที่ดินไม่คิดจะรื้อเพื่อปลูกบ้านขยายออกไปครอบคลุมเนื้อที่นั้นอีก เพราะคติในการปลูกเรือนที่ถือกันมาอย่างยิ่ง คือ จะไม่ปลูกบ้านในบริเวณที่ที่เคยเป็นเล้าข้าวมาก่อน ดังนั้นการปลูกเล้าข้าวจึงกำหนดจุดที่แน่นนอน ส่วนใหญ่เล้าข้าวจะวางแนวขนานกับตัวเรือน ด้านทิศเหนือหรือใต้
สำหรับครอบครัวที่ขยายออกใหม่ หรือมีฐานะยังไม่มั่นคง จะยังไม่มีเล้าข้าวกแต่จะอาศัยบริเวณใต้ถุนเรือนใหญ่ด้านทิศตะวันออกทำเป็นคอกกั้นเป็นห้องสำหรับใส่ข้าว เจ้าของเรือนบางหลังนิยมใช้ไม้ไผ่หรือลำแซง (กระแซง) สานเป็นรูปทรงกระบอกจรดพื้นเรือน เรียกว่า “ซอมข้าว”
๗. เรือนพักอาศัย แต่ละหลังจะวางเบื้องไปมา และกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบโดยไม่มีแนวหรือแกนที่เป็นศูนย์กลาง เรือนแต่ละหลังวางแนวสันหลังคาตามแนวทิศตะวันออกและตกเสมอระยะห่างแต่ละหลังไม่แน่นอน
๘. สวนครัว ตำแหน่งไม่แนะนอน เนื้อจากเนื้อที่ว่างภายในบริเวณไม่เอื้ออำนวย จะมีอยู่บ้างเพียงบางส่วนเพื่อปลูกพลู หรือ ผักประกอบอาหารบางชนิด สวนใหญ่นิยมทำเป็นส่วนลอยทำเป็นร้านขึ้นไปอยู่ริมชานด้านหลังขอเรือนติดกับโองน้ำเรียกว่า “ฮ้านผัก” หรือปลูกใส่ภาชนะที่ชำรุดใช้การไม่ได้แล้ว บางแห่งใช้ไม้กั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนรางใส่รำหมู เพื่อปลูกพืชผักรากสั้น เช่น หอม กระเทียม กระแหน่ ขิง และใบบัวบก เป็นต้น
สวนลอยบางแห่งนิยมใช้ครกกระเดื่อง* (ครกมอง) และรางเกลือ** ซึ่งมีทั้งชนิดไม้เนื้อแข็ง หรือลำตาลโดยเซาะเนื้อเยื่อภายในออกเหลือเฉพาะแก่นภายนอก ยกพื้นให้สูงจากดินด้วยเสาไม้ง่ามสูงประมาณ ๑ เมตร ใช้เป็นที่ปลูกพืชผักสวนครัว
การวางผังภายในคุ้มมีข้อน่าสังเกต คือ
๑. ในส่วนที่เป็นสวน หรือส่วนที่ปิดล้อมเนื้อที่ภายในคุ้ม นิยมล้อมด้วยต้นไม้ เช่น ต้นสะบู่ดำ (ไม้เยา) ไม้เป้า ต้นตะบองเพชร หรือกอไผ่
๒. ส่วนที่เป็นบ้านหากฐานะดี นิยมเสารั้วไม้แก่น (ไม้สองจับ) ใช้สิวเจาะต้นเสาให้ทะลุเป็นช่องใช้ไม้เนื้อแข็งสอดเป็นรั้วตามแนวนอน เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “รั้วหลักโคน” หากฐานะปานกลางนิยมใช้ไม้ผาดตามแนวรั้วกั้นเป็นเขตพอกั้นไม่ให้วัว ควาย เข้าไปทำให้พืชสวนเสียหายเท่านั้น
๓. ลักษณะของรั้วไม่ได้ป้องกันขโมยแต่อย่างใด ลักษณะการต่อเนื่องของรั้วจะมีบ้างและไม่มีบ้าง ซึ่งเป็นลักษณะหลวม ๆ ทั้ง ๔ ด้าน แต่ละด้านทางเข้าสู่ภายในคุ้ม ด้านละ ๒-๔ ทาง และเป็นตัวเชื่อมระหว่างภายนอกกับเนื้อที่ภายในคุ้ม
๔. ลานบ้าน ใช้เนื้อที่รอบ ๆ เรือนแต่ละหลัง ลานบ้านนอกจากจะเป็นตัวเชื่อมกับอาคารแล้วยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีก เช่น เป็นที่นั่งเล่นของเด็ก ตากผลิตผลทางการเกษตร พบปะสังสรรค์งานการละเล่นและพิธีกรรมของชาวบ้าน ผูกวัวควาย และใช้เป็นที่ตากฟืน
๕. ทางสัญจรภายใน อาศัยเนื้อที่ว่างและส่วนที่เป็นลานเป็นทางเดินติดต่อทางทะลุติดต่อกันภายในคุ้ม ดังนั้นทางสัญจรภายในจึงวกวนไปมาตามเนื้อที่ระหว่างอาคาร
๖. เล้าข้าวหรือยุ้งข้าว ใช้เป็นที่เก็บข้าวเปลือกของชาวบ้าน สร้างด้วยเสาไม้แก่น ฝาปิดทึบกันฝน ด้านหน้าทำประตูปิดด้วยแผ่นไม้วางซ้อนกันเป็นแผ่น ๆ หลังคานิยมมุงด้วยกระเบื้องไม้ ต่อมาพัฒนาเป็นมุงด้วยสังกะสี เรือนแต่ละหลังจะมีเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) ของตนเอง ห่างจากตัวเรือนพอประมาณโดยปกติเล้าข้าวนิยมปลูกติดกับริมรั้วด้านใดด้านหนึ่งซึ่งจัดไว้ต่างหาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เจ้าของที่ดินไม่คิดจะรื้อเพื่อปลูกบ้านขยายออกไปครอบคลุมเนื้อที่นั้นอีก เพราะคติในการปลูกเรือนที่ถือกันมาอย่างยิ่ง คือ จะไม่ปลูกบ้านในบริเวณที่ที่เคยเป็นเล้าข้าวมาก่อน ดังนั้นการปลูกเล้าข้าวจึงกำหนดจุดที่แน่นนอน ส่วนใหญ่เล้าข้าวจะวางแนวขนานกับตัวเรือน ด้านทิศเหนือหรือใต้
สำหรับครอบครัวที่ขยายออกใหม่ หรือมีฐานะยังไม่มั่นคง จะยังไม่มีเล้าข้าวกแต่จะอาศัยบริเวณใต้ถุนเรือนใหญ่ด้านทิศตะวันออกทำเป็นคอกกั้นเป็นห้องสำหรับใส่ข้าว เจ้าของเรือนบางหลังนิยมใช้ไม้ไผ่หรือลำแซง (กระแซง) สานเป็นรูปทรงกระบอกจรดพื้นเรือน เรียกว่า “ซอมข้าว”
๗. เรือนพักอาศัย แต่ละหลังจะวางเบื้องไปมา และกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบโดยไม่มีแนวหรือแกนที่เป็นศูนย์กลาง เรือนแต่ละหลังวางแนวสันหลังคาตามแนวทิศตะวันออกและตกเสมอระยะห่างแต่ละหลังไม่แน่นอน
๘. สวนครัว ตำแหน่งไม่แนะนอน เนื้อจากเนื้อที่ว่างภายในบริเวณไม่เอื้ออำนวย จะมีอยู่บ้างเพียงบางส่วนเพื่อปลูกพลู หรือ ผักประกอบอาหารบางชนิด สวนใหญ่นิยมทำเป็นส่วนลอยทำเป็นร้านขึ้นไปอยู่ริมชานด้านหลังขอเรือนติดกับโองน้ำเรียกว่า “ฮ้านผัก” หรือปลูกใส่ภาชนะที่ชำรุดใช้การไม่ได้แล้ว บางแห่งใช้ไม้กั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนรางใส่รำหมู เพื่อปลูกพืชผักรากสั้น เช่น หอม กระเทียม กระแหน่ ขิง และใบบัวบก เป็นต้น
สวนลอยบางแห่งนิยมใช้ครกกระเดื่อง* (ครกมอง) และรางเกลือ** ซึ่งมีทั้งชนิดไม้เนื้อแข็ง หรือลำตาลโดยเซาะเนื้อเยื่อภายในออกเหลือเฉพาะแก่นภายนอก ยกพื้นให้สูงจากดินด้วยเสาไม้ง่ามสูงประมาณ ๑ เมตร ใช้เป็นที่ปลูกพืชผักสวนครัว
รูปแบบของเรือนเสากลมพื้นบ้าน สามารถจำแนกโดยพิจารณาตามรูปลักษณะที่แตกต่างกัน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของวัสดุในการก่อสร้างบางส่วน สามารถแยกรูปแบบของเรือนได้ดังนี้
๑. เรือนแฝดทรงไทย
๒. เรือนเกยประเภทที่เรือนโข่ง
๓. เรือนธรรมดาชนิดมีเรือนไฟ
๔. เรือนเกยธรรมดาชนิดไม่มีเรือนไฟ
๕. เรือนชั่วคราว
(ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วเป็นเรือนที่ปลูกขึ้นใหม่ หรือเป็นเรือนเสาเหลี่ยม (ใช้เสาถากเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม) หรือเรือนที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก เช่น วัสดุก่อสร้างค่านิยมใหม่ ตลอดจนยึดมั่นในคติโบราณน้อยลง ผู้ศึกษาจะไม่กล่าวถึงเพราะถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้)
๑. เรือนแฝดทรงไทย
๒. เรือนเกยประเภทที่เรือนโข่ง
๓. เรือนธรรมดาชนิดมีเรือนไฟ
๔. เรือนเกยธรรมดาชนิดไม่มีเรือนไฟ
๕. เรือนชั่วคราว
(ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วเป็นเรือนที่ปลูกขึ้นใหม่ หรือเป็นเรือนเสาเหลี่ยม (ใช้เสาถากเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม) หรือเรือนที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก เช่น วัสดุก่อสร้างค่านิยมใหม่ ตลอดจนยึดมั่นในคติโบราณน้อยลง ผู้ศึกษาจะไม่กล่าวถึงเพราะถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้)
๑. เรือนแฝดไทย
จัดอยู่ในเรือนของคหบดี ผู้มีอันจะกิน มักมีฐานเดิมมั่นคง หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากอุปฮาด ราชวงศ์ หรือท้าวเพีย เรือนดังกล่าว ชาวผู้ไทยเรียกเป็น “โฮง” (โรงเรือน) คือเรือนที่มีฐานะและศักดิ์ศรีสูงกว่าเรือนธรรมดาของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งชาวบ้านไม่บังอาจสร้างเรือนขนาดดังกล่าวได้ ถือว่าทำตนเสมอเจ้า ในคุ้มหนึ่ง ๆ จะมีไม่กี่หลัง เรียกเป็น “บ้านญาแม่โฮงเหนือ” หรือ “คุ้มญาแม่โฮงใต้ “ ปกติจะเป็นเรือนประธานดั้งเดิม และมีเรือนบริวารกระจายอยู่รอบ ๆ เป็นเรือนที่มีอายุมากกว่าเรือนอื่น ๆ
จัดอยู่ในเรือนของคหบดี ผู้มีอันจะกิน มักมีฐานเดิมมั่นคง หรือผู้สืบเชื้อสายมาจากอุปฮาด ราชวงศ์ หรือท้าวเพีย เรือนดังกล่าว ชาวผู้ไทยเรียกเป็น “โฮง” (โรงเรือน) คือเรือนที่มีฐานะและศักดิ์ศรีสูงกว่าเรือนธรรมดาของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งชาวบ้านไม่บังอาจสร้างเรือนขนาดดังกล่าวได้ ถือว่าทำตนเสมอเจ้า ในคุ้มหนึ่ง ๆ จะมีไม่กี่หลัง เรียกเป็น “บ้านญาแม่โฮงเหนือ” หรือ “คุ้มญาแม่โฮงใต้ “ ปกติจะเป็นเรือนประธานดั้งเดิม และมีเรือนบริวารกระจายอยู่รอบ ๆ เป็นเรือนที่มีอายุมากกว่าเรือนอื่น ๆ
ลักษณะเด่นของเรือน
๑. จั่วทรงสูง มีห้องประมาณ ๓-๕ ห้อง
๒. เป็นเรือนแฝด ชายคาของเรือนนอนและเรือนโข่งจรดกัน ไม่มีเฉลียง
๓. เดิมมุงด้วยกระเบื้องไม้ หรือกระเบื้องดินขอ
๔. สร้างด้วยไม้จริงทั้งหลัง
๕. มีช่วงฮางริน (รางน้ำ) เป็นตัวเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของเรือน
๖. ฝาบ้านส่วนใหญ่ใช้ไม้จริง มีฝาลายคุบตามเรือนไฟเป็นส่วนน้อย
๗. มีบันไดขึ้นลงอย่างน้อย ๓ ทาง
๘. เป็นเรือนชนิดถาวร เจ้าของเรือนฐานะค่อนข้างดี
๙. มีเรือนไฟแยกอยู่ทางทิศตะวันตกต่างหาก
๑. จั่วทรงสูง มีห้องประมาณ ๓-๕ ห้อง
๒. เป็นเรือนแฝด ชายคาของเรือนนอนและเรือนโข่งจรดกัน ไม่มีเฉลียง
๓. เดิมมุงด้วยกระเบื้องไม้ หรือกระเบื้องดินขอ
๔. สร้างด้วยไม้จริงทั้งหลัง
๕. มีช่วงฮางริน (รางน้ำ) เป็นตัวเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของเรือน
๖. ฝาบ้านส่วนใหญ่ใช้ไม้จริง มีฝาลายคุบตามเรือนไฟเป็นส่วนน้อย
๗. มีบันไดขึ้นลงอย่างน้อย ๓ ทาง
๘. เป็นเรือนชนิดถาวร เจ้าของเรือนฐานะค่อนข้างดี
๙. มีเรือนไฟแยกอยู่ทางทิศตะวันตกต่างหาก
๒. เรือนเกยประเภทมีเรือนโข่ง
เป็นเรือนที่มีขนาดย่อมลงมากกว่าเรือนประเภทแรก ประกอบด้วยเรือนใหญ่ 3 ห้องมีระเบียง (อีสานเรียกเป็นเกย ผู้ไทยเรียกเป็นเปิง) ต่อจากเรือนนอน ถัดมาเป็นชานแดด สำหรับสัญจรและใช้สำหรับเป็นทางขึ้นบันได เรือนโข่งจะอยู่ติดชานด้านตรงข้ามกับเรือนใหญ่ ซึ่งปกตินิยมทำเป็น ๒ ห้อง หากทำเป็น ๓ ห้อง มักปิดกั้นฝาเพียง ๒ ห้อง รวมสามด้านไม่สูงมากนัก ส่วนด้านที่ติดชานแดดจะเปิดโล่ง ใช้เป็นที่รับรองเพื่อนบ้านหรือญาติที่สนิทสนม พักผ่อนหลับนอนของลูกชาย หากเป็นญาติผู้ใหญ่ หรือแขกพิเศษที่ไว้วางใจ มักรับรองให้หลับนอนบนเรือนใหญ่ที่เรียกว่า “ฮอง” ด้านทิศตะวันออก
เป็นเรือนที่มีขนาดย่อมลงมากกว่าเรือนประเภทแรก ประกอบด้วยเรือนใหญ่ 3 ห้องมีระเบียง (อีสานเรียกเป็นเกย ผู้ไทยเรียกเป็นเปิง) ต่อจากเรือนนอน ถัดมาเป็นชานแดด สำหรับสัญจรและใช้สำหรับเป็นทางขึ้นบันได เรือนโข่งจะอยู่ติดชานด้านตรงข้ามกับเรือนใหญ่ ซึ่งปกตินิยมทำเป็น ๒ ห้อง หากทำเป็น ๓ ห้อง มักปิดกั้นฝาเพียง ๒ ห้อง รวมสามด้านไม่สูงมากนัก ส่วนด้านที่ติดชานแดดจะเปิดโล่ง ใช้เป็นที่รับรองเพื่อนบ้านหรือญาติที่สนิทสนม พักผ่อนหลับนอนของลูกชาย หากเป็นญาติผู้ใหญ่ หรือแขกพิเศษที่ไว้วางใจ มักรับรองให้หลับนอนบนเรือนใหญ่ที่เรียกว่า “ฮอง” ด้านทิศตะวันออก
ลักษณะเด่นของเรือน
๑. เรือนใหญ่มักเป็นลักษณะของเรือนมีเกยแบบอีสานทั่วไป
๒. เรือนโข่งอยู่ด้านตรงข้ามกับเรือนใหญ่
๓. ความกว้างด้านสกัดของเรือนโข่งจะสั้นกว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย ความยาวเท่ากับสองห้องของเรือนใหญ่ หรือเท่ากันในกรณีที่เรือนโข่งมี ๓ ห้อง
๔. หลังคาจั่วทรงสูงแต่เล็กและต่ำกว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย
๕. ฝาเรือนโข่งส่วนใหญ่เป็นฝาไม้ไผ่สานลายคุบ สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร
๖. มีเรือนไฟแยกอยู่ทางทิศตะวันตกต่างหาก
๑. เรือนใหญ่มักเป็นลักษณะของเรือนมีเกยแบบอีสานทั่วไป
๒. เรือนโข่งอยู่ด้านตรงข้ามกับเรือนใหญ่
๓. ความกว้างด้านสกัดของเรือนโข่งจะสั้นกว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย ความยาวเท่ากับสองห้องของเรือนใหญ่ หรือเท่ากันในกรณีที่เรือนโข่งมี ๓ ห้อง
๔. หลังคาจั่วทรงสูงแต่เล็กและต่ำกว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย
๕. ฝาเรือนโข่งส่วนใหญ่เป็นฝาไม้ไผ่สานลายคุบ สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร
๖. มีเรือนไฟแยกอยู่ทางทิศตะวันตกต่างหาก
๓. เรือนเกยธรรมดาชนิดมีเรือนไฟ
เรือนประเภทนี้จะมีเฉพาะเรือนนอน (เรือนใหญ่) เฉลียง (เกยหรือเปิง) ชานแดด เรือนไฟ ชานมน และร้านแอ่งน้ำ ที่แตกต่างจากประเภทที่ ๑ และ ๒ คือ ไม่มีเรือนโข่ง
เรือนประเภทนี้จะมีเฉพาะเรือนนอน (เรือนใหญ่) เฉลียง (เกยหรือเปิง) ชานแดด เรือนไฟ ชานมน และร้านแอ่งน้ำ ที่แตกต่างจากประเภทที่ ๑ และ ๒ คือ ไม่มีเรือนโข่ง
ลักษณะทั่วไป
๑. ฝาส่วนใหญ่เป็นฝาไม้ไผ่สานลายคุบ หรือไม้ไผ่โก๊ะสานขัดแตะ
๒. ไม่มีเรือนโข่ง
๓. เรือนไฟใช้เสาไม้จริงทุบเปลือกหรือเสาไม้แก่น (ไม้แก่นล่อน) ทำง่าย ๆ ไม่พิถีพิถัน ฝาใช้ฝาแขบตอง (ใบตองกุง) มีรูโหว่ทั่วไป ติดกับชานด้านทิศตะวันตกโดยผ่านชานน้อย
๔. มีชานมนสำหรับวางแอ่งน้ำและประกอบอาหารลดต่ำลงมา
๕. เป็นเรือนของชาวบ้านที่มีฐานะปานกลาง หรือจน
๑. ฝาส่วนใหญ่เป็นฝาไม้ไผ่สานลายคุบ หรือไม้ไผ่โก๊ะสานขัดแตะ
๒. ไม่มีเรือนโข่ง
๓. เรือนไฟใช้เสาไม้จริงทุบเปลือกหรือเสาไม้แก่น (ไม้แก่นล่อน) ทำง่าย ๆ ไม่พิถีพิถัน ฝาใช้ฝาแขบตอง (ใบตองกุง) มีรูโหว่ทั่วไป ติดกับชานด้านทิศตะวันตกโดยผ่านชานน้อย
๔. มีชานมนสำหรับวางแอ่งน้ำและประกอบอาหารลดต่ำลงมา
๕. เป็นเรือนของชาวบ้านที่มีฐานะปานกลาง หรือจน
๔. เรือนเกยธรรมดาชนิดไม่มีเรือนไฟ
มีลักษณะเหมือนเรือนเกยทั่วไป แต่ใช้เกยหรือระเบียงด้านทิศตะวันตก ๑ ห้อง สำหรับใช้เป็นที่ประกอบอาหาร ห้องส่วนที่ใช้ทำครัวอาจปิดฝาทึบด้วยฝาลายคุบ หรือเปิดโล่งแล้ว แต่ฐานะของเจ้าของบ้าน ซึ่งปกติค่อนข้างจะยากจน
๕. เรือนชั่วคราว
แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑. เป็นเรือนชั่วคราวทั่วไป หมายถึง เรือนที่มีเฉพาะเรือนใหญ่ ๓ ห้อง และต่อเกยออกมา ๒ ห้อง ใช้บันไดพาดบนเกย ไม่มีชานแดด ห้องครัว ใช้เกยด้านทิศตะวันตกห้องเกยตรงกลางใช้พาดบันได รับประทานอาหาร นั่งเล่น และรับรองแขก เรือนประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นเรือนที่สร้างขึ้นชั่วคราวของครอบครัวเล็ก มีลูก ๑-๒ คน กำลังสร้างฐานะ เรียกตามภาษาถิ่นว่า “ออกเรือนใหม่” หรือครอบครัวที่ยังยากจนอยู่
๒. เรือนเหย้า คือ เรือนที่ทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ และจะต้องมีเพียง ๒ ห้อง คือ ห้องนอน ๑ ห้อง ห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องครัวเครื่องใช้ รับประทานอาหาร นั่งเล่น พักผ่อน รับรองแขกสนิท วางแอ่งน้ำกิน (น้ำดื่ม) และใช้เป็นที่พาดกะไดขึ้นเรือนไปในตัวเสร็จ
เรือนเหย้ามักเป็นเรือนที่เริ่มขยายใหม่ ในกรณีที่เจ้าของเรือนเพิ่งแต่งงานเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เรือนสู่” สมาชิกจะมีเพียงสองคนคือ ผัวกับเมีย ซึ่งเปรียบเสมือนเรือนหอของคู่ผัวเมียใหม่นั่นเอง การประกอบอาหารยังต้องอาศัยเรือนใหญ่ของพ่อตาแม่ยาย
คติในการปลูกเรือนเหย้า จะต้องใช้เสาไม้กลมไม่ลอกเปลือก หรือเสาไม้ไผ่และเป็นเรือนเครื่องผูกที่ใช้หวายหรือตอกมัด และจะต้องสร้างให้แล้วเสร็จในวันเดียว และให้อยู่ได้ไม่เกินสามปี ในกรณีที่มีบุตร เจ้าของเรือนอาจต่อเกยหรือเทิบยื่นออกมา เพื่อพออยู่ได้ ซึ่งในระยะที่ออกเรือนใหม่นี้ สามีต้องขวนขวายหาไม้ และเครื่องเรือนประกอบเรือน เพื่อยกฐานะให้ปลูกสร้างเรือนเกยสามห้องให้ได้ หากในระยะสามปีไม่สามารถยกเรือนใหม่ได้ มักถูกตำหนิจากญาติพี่น้องฝ่ายหญิง
๓. กระเติ๊บ หรือตูบของลาว หรือกระท่อม เป็นเรือนติดพื้น พื้นติดดินบริเวณใช้สอย ภายในติดพื้น ส่วนที่ใช้สำหรับเป็นที่นอนยกพื้นด้วยฟากไม้ไผ่เตี้ย ๆ เป็นเรือนชั่วคราวที่ปลูกสร้างขึ้น ในกรณีที่ครอบครัวรื้อบ้านเดิมปลูกใหม่ หรือครอบครัวที่อพยพมาจากที่อื่นมาขออาศัยอยู่ใหม่ และไม่ใช่ที่ดินของตนเอง หากเป็นญาติมักจะปลูกตูบต่อเล้า หากเป็น “ไทยครัว” ที่อพยพขออาศัยอยู่ชั่วคราว มักให้อยู่ตามสวน ครอบครัวที่ปลูกกระเติ๊บหรือตูบอยู่นานเกิน ๖ เดือน ไม่เปลี่ยนแปลงฐานะของที่อยู่อาศัย มักจะเป็นครอบครัวที่ยากจน ไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้างหรือไม่มีอาชีพเลย
แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑. เป็นเรือนชั่วคราวทั่วไป หมายถึง เรือนที่มีเฉพาะเรือนใหญ่ ๓ ห้อง และต่อเกยออกมา ๒ ห้อง ใช้บันไดพาดบนเกย ไม่มีชานแดด ห้องครัว ใช้เกยด้านทิศตะวันตกห้องเกยตรงกลางใช้พาดบันได รับประทานอาหาร นั่งเล่น และรับรองแขก เรือนประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นเรือนที่สร้างขึ้นชั่วคราวของครอบครัวเล็ก มีลูก ๑-๒ คน กำลังสร้างฐานะ เรียกตามภาษาถิ่นว่า “ออกเรือนใหม่” หรือครอบครัวที่ยังยากจนอยู่
๒. เรือนเหย้า คือ เรือนที่ทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ และจะต้องมีเพียง ๒ ห้อง คือ ห้องนอน ๑ ห้อง ห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องครัวเครื่องใช้ รับประทานอาหาร นั่งเล่น พักผ่อน รับรองแขกสนิท วางแอ่งน้ำกิน (น้ำดื่ม) และใช้เป็นที่พาดกะไดขึ้นเรือนไปในตัวเสร็จ
เรือนเหย้ามักเป็นเรือนที่เริ่มขยายใหม่ ในกรณีที่เจ้าของเรือนเพิ่งแต่งงานเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เรือนสู่” สมาชิกจะมีเพียงสองคนคือ ผัวกับเมีย ซึ่งเปรียบเสมือนเรือนหอของคู่ผัวเมียใหม่นั่นเอง การประกอบอาหารยังต้องอาศัยเรือนใหญ่ของพ่อตาแม่ยาย
คติในการปลูกเรือนเหย้า จะต้องใช้เสาไม้กลมไม่ลอกเปลือก หรือเสาไม้ไผ่และเป็นเรือนเครื่องผูกที่ใช้หวายหรือตอกมัด และจะต้องสร้างให้แล้วเสร็จในวันเดียว และให้อยู่ได้ไม่เกินสามปี ในกรณีที่มีบุตร เจ้าของเรือนอาจต่อเกยหรือเทิบยื่นออกมา เพื่อพออยู่ได้ ซึ่งในระยะที่ออกเรือนใหม่นี้ สามีต้องขวนขวายหาไม้ และเครื่องเรือนประกอบเรือน เพื่อยกฐานะให้ปลูกสร้างเรือนเกยสามห้องให้ได้ หากในระยะสามปีไม่สามารถยกเรือนใหม่ได้ มักถูกตำหนิจากญาติพี่น้องฝ่ายหญิง
๓. กระเติ๊บ หรือตูบของลาว หรือกระท่อม เป็นเรือนติดพื้น พื้นติดดินบริเวณใช้สอย ภายในติดพื้น ส่วนที่ใช้สำหรับเป็นที่นอนยกพื้นด้วยฟากไม้ไผ่เตี้ย ๆ เป็นเรือนชั่วคราวที่ปลูกสร้างขึ้น ในกรณีที่ครอบครัวรื้อบ้านเดิมปลูกใหม่ หรือครอบครัวที่อพยพมาจากที่อื่นมาขออาศัยอยู่ใหม่ และไม่ใช่ที่ดินของตนเอง หากเป็นญาติมักจะปลูกตูบต่อเล้า หากเป็น “ไทยครัว” ที่อพยพขออาศัยอยู่ชั่วคราว มักให้อยู่ตามสวน ครอบครัวที่ปลูกกระเติ๊บหรือตูบอยู่นานเกิน ๖ เดือน ไม่เปลี่ยนแปลงฐานะของที่อยู่อาศัย มักจะเป็นครอบครัวที่ยากจน ไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้างหรือไม่มีอาชีพเลย
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://blog.eduzones.com/pachara/33571
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น