เข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง
เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูงมักทำ
เป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป
เทวรูป รูปเคารพต่างๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น
หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่างๆ
ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง
ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่างศักดิสิทธิ์เปี่ยมศรัทธา
ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้
ความเป็นมาของประติมากรรมไทย
การสร้างงานประติมากรรมของมนุษย์เรามาแต่โบราณกาล เช่น การนำกระดูกสัตว์มาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ หรือ การนำหินมาแกะสลักเป็นรูปเคารพ หรือปั้นดินเหนียวเป็นรูปข้าทาสบริวาร รูปช้างม้า แล้วเผาไฟจนกลายเป็นดินเผาไว้ในบริเวณหลุมศพของจักรพรรดิ ซึ่งเป็นคติอย่างหนึ่งของจีนในอดีต สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประติมากรรม เกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ เพื่อใช้ประโยชน์จากประติมากรรมต่อมาเมื่อศาสนาเกิดขึ้นในโลก ความศรัทธาในศาสนาของมนุษย์ เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างรูปเคารพ รูปศาสดาของแต่ละศาสนาตลอดจนถึงรูปสัญลักษณ์ประจำศาสนา เช่น พระพุทธรูปต่างๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น