วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมคืออะไร


๑. วัฒนธรรมคืออะไร
Donald Klopf : Culture is “that part of the environment made by humans”  วัฒนธรรมคือส่วนของสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น   วัฒนธรรมจึงรวมทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งทางด้านวัตถุ ค่านิยม   ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่ผูกพันกลุ่มชนต่าง ๆเข้าด้วยกัน   
สรุปได้ว่า วัฒนธรรม (Culture)  เป็นระบบคุณค่า และบรรทัดฐานร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่จะนำไปสู่รูปแบบของการดำรงชีวิต ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น กำหนดขึ้น เป็นรูปแบบในการดำเนินชีวิต เมื่อมนุษย์ได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาแล้วจึงสอนให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ หรือนำไปปฏิบัติ ดังนั้น วัฒนธรรมจึงต้องมีการเรียนรู้และมีการถ่ายทอด
๒. คุณลักษณะของวัฒนธรรม Nature of Culture
•          เป็นผลผลิตของระบบความคิดของมนุษย์ (Cognitive Systems)
•          มีการเรียนรู้ (Learned) หรือได้มาเพราะการเรียนรู้
•          เป็นสิ่งที่เกิดร่วมกัน (Shared) หรือเป็นสมบัติส่วนรวม
•          มีการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง (transgeneration)
•          มีลักษณะเป็นรูปแบบ (pattern)
•          มีการเปลี่ยนแปลง (adaptive
๓. การสื่อสารระหว่างชนต่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication)   วัฒนธรรม ทำให้คนเรามีความรู้สึกร่วมกัน ช่วยตอบคำถามเก่าแก่หลายคำถามเช่น เราเป็นใคร  เราอยู่ที่ไหน เราควรจะดำเนินชีวิตของเราอย่างไร
๔. ลักษณะของวัฒนธรรม
        ๔.๑ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้   เพราะคนแต่ละวัฒนธรรมจึงมีการคิด และมีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไป (คนไทย คนจีน คนอเมริกันคิดและแสดงออกไม่เหมือนกัน
      ๔.๒ วัฒนธรรมเป็นของทุกคนไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง
          - ทำให้เรามีความเหมือนกัน
           - เป็นพวกเดียวกัน คิดอย่างเดียวกัน
            - ปฏิบัติต่อคนต่างวัฒนธรรม
       ๔.๓ วัฒนธรรมเกี่ยวพันกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตเราหลายอย่าง
                 - ภาษา  ศาสนา  โลกทัศน์  การศึกษา  องค์กรทางสังคมเทคโนโลยี  กฎหมาย ฯลฯ ล้วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทั้งสิ้น   แม้ว่าคนต่างวัฒนธรรมกันจะทำหลายอย่างเหมือนกัน แต่วิธีการกระทำก็จะแตกต่างกันไป เช่นคนทุกชาติทุกภาษา ต้องกินอาหาร แต่อาหารที่ปรุงก็แตกต่างกัน  มารยาทในการรับประทานอาหารก็แตกต่างกัน การกำหนดว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ ก็แตกต่างกัน
            ๔.๔ วัฒนธรรมบางครั้งเหลื่อมกันหรือขัดแย้งกันได้ เช่น  ผู้หญิงที่เชื่อเรื่อง สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชาย-หญิงแต่อยู่ในครอบครัวหัวโบราณที่เชื่อว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง จะมีความรู้สึกขัดแย้งในใจมาก
๕. องค์ประกอบของวัฒนธรรมในสังคม    ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมมีผลต่อการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมในสังคมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสรุปเป็นองค์ประกอบ ดังนี้
๕.๑  ความรักสวยรักงามและรสนิยม (Aesthetics) : ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมจะมีผลทำให้การมองเห็นถึงความสวยงามและรสนิยมแตกต่างกันไป
๕.๒  ทัศนคติและความเชื่อ (Attitudes and Beliefs) : การอบรมสั่งสอนรวมถึงความเชื่อของคนในสังคมหนึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออกที่แตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง
๕.๓.  ศาสนา (Religion) : เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อวัฒนธรรมในแต่ละสังคมอันจะมีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของคนในสังคมนั้นๆ
๖. การแพร่กระจายของวัฒนธรรม
๑.       ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
๒.      ปัจจัยระยะทาง
๓.       ปัจจัยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคม
๔.       ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
๕.       ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
การแพร่กระจายของวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับเขตวัฒนธรรมอย่างมาก
๖. กลุ่มของวัฒนธรรม
๑.๑ วัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น วัฒนธรรมคนป่า วัฒนธรรมเขตเหนือและเขตหนาวและเขตขั้วโลกเหนือ
๑.๒ วัฒนธรรมปฐมภูมิ เช่น ชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์  วัฒนธรรมชาวสวน
๑.๓ วัฒนธรรมทุติยภูมิ แบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑.       วัฒนธรรมเพาะปลูกขั้นสูง
๒.      วัฒนธรรมชาวสวนขั้นสูง
๓.       วัฒนธรรมพ่อบ้านเป็นใหญ่
๘. ทำไมเราต้องติดต่อสื่อสารระหว่างชนต่างวัฒนธรรม
โลกแคบลง เราอยู่ใน global village มีการเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น มีการทำงานในบรรษัทข้ามชาติมากขึ้น   มีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างวัฒนธรรมมากขึ้น
เราอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย
การสื่อสารระหว่างชนต่างวัฒนธรรมช่วยให้เราเติบโต และพัฒนา (ตนเอง)  เช่น มีใจกว้างขึ้น  มีความสุขในชีวิตมากขึ้น   เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น    ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
๙. วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อการสื่อสารของคนเราอย่างไร
วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อโลกทัศน์ขอเรา (วิธีคิด วิธีมองตนเอง และวิธีมองสภาพแวดล้อม)
วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อบทบาทของสมาชิกในสังคม
.วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อการกำหนดเป้าหมายในชีวิต
๔. วัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของเรา (ภาพลักษณ์ของตนเอง)
๑๐. ประโยชน์การเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มอื่น/ศาสนิกอื่น
•         การปรับตัวเพื่อการเข้าใจกัน สามารถลดความขัดแย้ง สร้างสันติสุขในการอยูร่วมกัน
•         นอกจากนั้นการรู้วัฒนธรรม ยังทำให้เรารู้อีกว่า อะไรที่ควรทำหรืออะไรที่ไม่ควรทำ 
•         ทำให้เราเข้าใจและรู้ว่าควรปฏิบัติต่อเขาที่ต่างจากเราอย่างไร
•         ผู้ที่ศึกษาวัฒนธรรมของผู้อื่น/กลุ่มชนอื่นอย่างลึกซึ้งแล้ว จะส่งผลทำให้สามารถสะท้อนความเข้าใจต่อกลุ่มชน ของตนเองมากขึ้น
•         เมื่อเข้าใจและรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่นแล้ว จะเลือกใช้วัฒนธรรมในฐานะ "กำแพง" ที่ก่อเพื่อปิดกั้นและอยู่เฉพาะกลุ่มชนตนเอง หรือมุ่งที่จะสร้างเป็น "สะพาน" เพื่อที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อการแลกเปลี่ยน สังสรรค์ เป็นที่รู้จักและนำสู่การอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น