วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


       การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
          1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม
          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
                    2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
                    4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
                    5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
                    6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
                    2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
                    ในสมัยรัชการลที่ มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ ในสมัยรัชกาลที่ มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
                    ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
                    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
                    5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญข้าวหลาม



ช่วงเวลา
ประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นประเพณีของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยเชื้อสายเขมร
ประเพณีนี้อาจเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่ก่อนเมื่อครั้งยังอยู่ในประเทศลาวจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง

พิธีกรรม
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตอนสายจะพากันเดินไปขึ้นเขาดงยาง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๖ กิโลเมตร เพื่อปิดทองรอยพระพุทธบาทบนเขาดงยาง และนำข้าวหลามไปรับประทานบนเขา

สาระ
นอกเหนือจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกัน ของชนเผ่าผู้อพยพทางหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากชุมชนลาวรุ่นแรกๆล้วนมาจากประเทศลาวแล้วแยกย้ายกันบุกเบิกป่าสร้างที่ทำกิน การกำหนดนัดพบหน้าโดยถือเอาวันสำคัญทางศาสนาเป็นแกนนั้นนับได้ว่าได้ทั้งบุญกุศส ได้ทั้งความรู้สึกอบอุ่นทางเชื้อชาติในคราวเดียวกัน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=012

งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร



ช่วงเวลา
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ ๓ ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ
๑. งานเทศกาลกลางเดือน ๕ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำจนถึงวันแรก ๑ ค่ำ เดือน ๕ รวม ๓ วัน
๒. งานเทศกาลกลางเดือน ๑๒ ระหว่างวันขึ้น ๑๒-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๕ วัน
๓. งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น ๑-๕ ค่ำ เดือน ๓ รวม ๓ วัน

ความสำคัญ
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จึงมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปนมัสการอย่างเนืองแน่นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเทศกาลสำคัญและงานนักขัตฤกษ์ จะมีผู้มานมัสการจำนวนมากกว่าวันปกติทั่วไป

พิธีกรรม
งานเทศกาลกลางเดือน๕ จัดขึ้นรวม ๓ วัน ๓ คืน นับตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ เทศกาลนี้จัดฉลองสมโภชเนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นวันคล้ายวันที่อาราธนาหลวงพ่อขึ้นจากแม่น้ำ แล้วอัญเชิญท่านมาประดิษฐานที่วัดโสธรวรวิหาร
งานเทศกาลกลางเดือน ๑๒ เทศกาลนี้ได้จัดสืบต่อกันมานานกว่าร้อยปีแล้ว คือ เริ่มจัดขึ้นในราว พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยมีมูลเหตุมาจากในปีนั้นประชาชนในท้องถิ่นประสบทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ทำการเพาะปลูกไม่ได้ผล ทั้งยังเกิดโรคอหิวาต์และฝีดาษระบาดทั่วไป ทำให้ผู้คนและสัตว์เลี้ยงล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงคราวเข้าตาจนเช่นนี้ชาวบ้านต่างพากันบนบานศาลกล่าวต่อหลวงพ่อให้ช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยเหล่านี้ ด้วยการปิดทองบ้าง ด้วยมหรสพสมโภชบ้าง และด้วยสิ่งอื่น ๆ กล่าวกันว่าความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่บันดาลให้เกิดฝนโปรยปรายลงมา ทำให้แผ่นดินชุ่มชื้น โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หายเป็นปลิดทิ้ง ชาวบ้านจึงร่วมใจกันจัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่เพื่อแก้บน
แต่เดิมงานเทศกาลในเดือนนี้มี ๓ วัน คือ วันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้จัดเพิ่มขึ้นอีก ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๒-๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒รวมทั้งสิ้นเป็น ๕ วัน และถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำจะมีการแห่หลวงพ่อทางบก วันขึ้น ๑๕ ค่ำ มีการแห่ทางน้ำ และวันแรม ๑ ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายมีการเวียนเทียนและสรงน้ำพระ
งานเทศกาลตรุษจีน จัดตามจันทรคติของจีน คือ ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ปีใหม่ (ชิวอิด) ไปจนถึงวันขึ้น ๕ ค่ำ (ชิวโหงว) รวม ๕ วัน ๕ คืน ถ้าเทียบเป็นเดือนไทยก็คือ ราวเดือนยี่หรือเดือนสาม

สาระ
การจัดงานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธรนับเป็นกุศโลบายอันแยบยล ที่ดึงพุทธศาสนิกชนให้เข้าวัดผ่อนคลายภารกิจในชีวิตประจำวัน เพื่อกราบไหว้บูชาองค์หลวงพ่อซึ่งเปรียบได้ดังตัวแทนของพุทธองค์ และให้ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ให้เว้นความชั่วให้ทำแต่ความดี อันส่งผลให้การดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข โดยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตใจ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttp://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=06

การแข่งเรือ


 

ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ความสำคัญ
การแข่งเรือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความผูกพันกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่โบราณกาล

พิธีกรรม
การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์ ฯลฯ
การแข่งเรือยาวฝีพายแต่ละลำมีจำนวนประมาณ ๕๐ คนมีหัวหน้าควบคุมเรือ ๑ คน จังหวะการพายจะพาย ๒ ต่อ ๑ คือ ฝีพาย ๒ ครั้ง ผู้คัดท้ายจะพาย ๑ ครั้ง กติกาการแข่งขันผู้ชนะจะต้องชนะ ๒ ใน ๓ คือ เมื่อแข่งเที่ยวแรกไปแล้ว จะเปลี่ยนสายน้ำสวนกัน ถ้าชนะ ๒ ครั้งติดต่อกันถือว่าชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะจะมีการแข่งขันเที่ยวที่ ๓

สาระ
นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผูกพันกับผืนน้ำของผู้คนแล้วยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสมานสามัคคีของบุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่าอยู่ในเรือลำเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝน การทุ่มเทแรงกายแรงใจ ความพร้อมเพรียงจังหวะและการประสานสัมพันธ์ ที่ทำให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้โดยมิใช่อาศัยความสามารถของคนใดคนหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/

ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก



ช่วงเวลา ไม่กำหนดแน่ชัด

ความสำคัญ
การก่อพระเจดีย์ทรายเป็นประเพณีที่ชาวไผ่ดำ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้กระทำสืบทอดกันมาแต่อดีตกาล วัตถุประสงค์เพื่อนำเอาทรายมาใช้ทำสาธารณประโยชน์ในวัด
ส่วนการก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวไผ่ดำ ที่นำเอาผลผลิตจากอาชีพการทำนา คือ ข้าวเปลือก มาก่อเป็นเจดีย์แทนทราย

พิธีกรรม
การก่อพระเจดีย์ทรายเนื่องจากสภาพท้องถิ่นของหมู่บ้านไผ่ดำ เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจึงทำให้ไม่มีทรายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเลย การก่อพระเจดีย์ทรายของชาวไผ่ดำ จึงเปลี่ยนจากการขนทรายมาเป็นการซื้อทรายจากทางวัด ซึ่งที่วัดไผ่ดำจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อน ว่าจะมีการการก่อพระเจดีย์ทรายในวันพระไหน เมื่อถึงวันกำหนดประชาชนก็จะไปทำบุญและก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน จากนั้นก็มีการประกวดความสวยงามของพระเจดีย์ ว่าใครตกแต่งได้ดีกว่ากัน
การก่อพระทรายข้าวเปลือก ก็มีวิธีดำเนินการเช่นเดียวกัน คือ นัดวัน เมื่อถึงวันกำหนดชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกใส่กระบุงไปวัด แล้วเอาไปเทกองรวมกันในที่วัดจัดไว้เป็นพระเจดีย์ ควบคู่ไปกับการทำบุญ ข้าวเปลือกที่ได้ทางวัดจะนำไปขาย เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงศาสนสถานของวัดต่อไป

สาระ
การก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ มาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา อีกทั้งสร้างนิสัยด้านการบริจาค ความสามัคคีแก่ผู้คนในชุมชน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=09

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง




ช่วงเวลา กลางเดือน ๙ ของทุกปี

ความสำคัญ
การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีการถวายน้ำผึ้งแก่ภิกษุและสามเณร ของชาวรามัญที่วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อยและน้ำผึ้งคอยถวาย ต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยมาบริโภคเป็นยาได้

พิธีกรรม
การตักบาตรน้ำผึ้งมักจัดกันที่ศาลาวัด ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นั้น ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตร และนำน้ำตาลใส่ในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหารคาวหวานจะใส่ในภาชนะที่วางแยกไว้อีกด้านหนึ่ง อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตร ได้แก่ ข้าวต้มมัด ถวายเพื่อให้พระฉันจิ้มกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล

สาระ
การตักบาตรน้ำผึ้งเป็นกิจกรรมที่น้อมนำให้ระลึกถึงองค์ผู้มีพระภาคเจ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เดียรัจฉาน สัตว์ยังรู้คุณค่าของศาสนาด้วยการเสาะแสวงหาภิกษาหารนำมาถวายพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรม พุทธศาสนิกชนจึงนำรูปแบบของการนำปัจจัยมาถวายเพื่อจุดหมายการได้ฟังธรรมเทศนาเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=011

ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า


ช่วงเวลา
วันแรม ๘ ค่ำ ถึงวันช่วงเวลา
วันแรม ๘ ค่ำ ถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๘ วัน เป็นวันประกอบพิธีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จากนั้นในวันที่ ๙ คือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันถวายพระเพลิง

ความสำคัญ
ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่บ้านหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมานานนับร้อยปี บนพื้นฐานความเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนที่ได้ร่วมถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า จะได้บุญกุศลอย่างแรงกล้า

พิธีกรรม
ก่อนงานชาวบ้านจะร่วมมือร่วมใจกันสร้างโลงและรูปจำลองของพระพุทธเจ้า แล้วนำไปตั้งเบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ครั้นวันแรม ๘-๑๕ ค่ำ พระสงฆ์จะลงสวดพระอภิธรรมตั้งแต่ ๒๐.๐๐ น. เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นกุศลแก่ผู้สดับธรรม แต่ละคืนชาวบ้านจะร่วมกันนำจตุปัจจัยมาถวายแด่พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นการทำบุญ ครั้นวันขึ้น ๑ ค่ำ หลังสวดพระอภิธรรมก็จะมีการนำเอาโลงและรูปจำลองของพระพุทธเจ้า แห่เวียนรอบพระเมรุมาศจำลอง แล้วจึงยกขึ้นวางบนจิตกาธาน พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล ถวายดอกไม้จันทน์ร่วมกับชาวบ้านแล้วถวายพระเพลิง

สาระ
เนื้อหาประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าคือ การระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จปรินิพานอันเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ก่อให้เกิดสติที่ไม่ติดยึดอยู่กับวัตถุใดๆ และเห็นชีวิตเป็นอนิจจัง๖ รวม ๘ วัน เป็นวันประกอบพิธีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จากนั้นในวันที่ ๙ คือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันถวายพระเพลิง


ความสำคัญ
ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่บ้านหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมานานนับร้อยปี บนพื้นฐานความเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนที่ได้ร่วมถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า จะได้บุญกุศลอย่างแรงกล้า

พิธีกรรม
ก่อนงานชาวบ้านจะร่วมมือร่วมใจกันสร้างโลงและรูปจำลองของพระพุทธเจ้า แล้วนำไปตั้งเบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ครั้นวันแรม ๘-๑๕ ค่ำ พระสงฆ์จะลงสวดพระอภิธรรมตั้งแต่ ๒๐.๐๐ น. เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นกุศลแก่ผู้สดับธรรม แต่ละคืนชาวบ้านจะร่วมกันนำจตุปัจจัยมาถวายแด่พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นการทำบุญ ครั้นวันขึ้น ๑ ค่ำ หลังสวดพระอภิธรรมก็จะมีการนำเอาโลงและรูปจำลองของพระพุทธเจ้า แห่เวียนรอบพระเมรุมาศจำลอง แล้วจึงยกขึ้นวางบนจิตกาธาน พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล ถวายดอกไม้จันทน์ร่วมกับชาวบ้านแล้วถวายพระเพลิง

สาระ
เนื้อหาประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าคือ การระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จปรินิพานอันเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ก่อให้เกิดสติที่ไม่ติดยึดอยู่กับวัตถุใดๆ และเห็นชีวิตเป็นอนิจจัง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=013

ประเพณีแห่ธงตะขาบ



ช่วงเวลา ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี

ความสำคัญ
การถวายธงตะขาบเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ เป็นประเพณีของชาวรามัญที่ตั้งรกรากอยู่ใกล้วัดพิมพาวาส ในเขตอำเภอบางปะกง เชื่อกันว่าธงที่แขวนส่ายเพราะแรงลมเป็นการบอกรับบุญกุศลของบรรพบุรุษ และช่วยให้ผู้ล่วงลับได้ขึ้นสวรรค์

พิธีกรรม
ธงตะขาบแต่เดิมเป็นธงกระดาษ ต่อมาเปลี่ยนเป็นผ้า ปัจจุบันใช้เชือกเป็นเส้นขอบผูกขวางคั้นด้วยซี่ไม้ไผ่เป็นช่วง ๆ ใช้เสื่อผืนยาวปิดทับแทนผ้าหรือกระดาษเป็นลำตัว ปลายไม้ที่ยื่นสองข้างทุกซี่ประดับด้วยช้อนผูกห้อยแทนขา สลับกับพู่กระดาษเพื่อความสวยงาม หัวและหางสานผูกด้วยโครงไม้ปิดกระดาษสี จะทำกี่ตัวแล้วแต่กำลัง จากนั้นจะทำการแห่ไปที่วัด เมื่อถึงก็จะขึงธงไว้กับต้นเสาในศาลา จากนั้นพระจะนำสายสิญจน์มาวงรอบธง แล้วจึงทำพิธีถวายธงตามด้วยการสรงน้ำพระ เสร็จแล้วจึงนำธงไปชักขึ้นแขวนบนเสาหงส์

สาระ
ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นกุศโลบายที่แสดงออกถึงความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายและความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยมีศาสนาเป็นตัวเชื่อมประสานความเชื่อ อีกทั้งเป็นการกำหนดกิจกรรมที่รวบรวมผู้คนของสังคมให้ร่วมแรงร่วมใจกันทางหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=010

การทอดผ้าป่าโจร บ้านสามผาน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี


ช่วงเวลา ตลอดปี
การทอดผ้าป่าโจรเชื่อว่าได้บุญกุศลมากกว่าการทำบุญทอดผ้าป่าอันเป็นปกติธรรมดา เพราะได้ถวายเครื่องใช้ที่พระสงฆ์ขาดแคลน

ความสำคัญ
เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในพุทธศาสนา ความพร้อมเพรียงในหมู่เครือญาติ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการทำบุญถวายเครื่องใช้จำเป็นสำหรับพระสงฆ์

พิธีกรรม
ผู้ที่จัดทอดผ้าป่าโจรจะต้องเตรียมผ้าสีขาว ซึ่งมีความยาวหลายหลา สีย้อมกรั๊ก (สีที่ได้จากแกนขนุน) เข็ม ด้าย พร้อมทั้งบริวารผ้าป่าขึ้นอยู่กับความศรัทธาของผู้ทอดผ้าป่าโจร ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด ในการจัดต้องทำกันภายในครอบครัวและญาติพี่น้องที่เคารพนับถือกันเท่านั้น เวลาทำการทอดผ้าป่าจะทำกันเวลาใกล้รุ่งคือก่อนเวลาที่พระจะออกบิณฑบาต โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จัดเตรียมไว้ทั้งหมดไปไว้ที่ทางสามแพร่ง หรือบริเวณเส้นทางที่พระสงฆ์จะออกบิณฑบาต และปักธูปไว้เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่กองผ้าป่าไปยังบริเวณที่พระออกบิณฑบาตจะมองเห็นได้ชัดเจน หากเป็นที่โล่งเตียนก็ไม่ต้องจุดธูปบอกก็ได้ เมื่อพระรูปใดออกบิณฑบาตตอนเช้ามืดเห็นท่านจะเดินไปยังที่วางกองผ้าป่าท่านก็จะทำพิธีชักผ้าป่าพร้อมสวดมนต์ให้พรแก่
เจ้าของกองผ้าป่าก็เป็นอันเสร็จพิธี

สาระ
เป็นการถวายความอุปถัมป์ผ้าครองและเครื่องใช้ที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปใดรูปหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=05

งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว



ช่วงเวลา วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน-๑๐ ธันวาคม ของทุกปี

ความสำคัญ
งานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (ผ้าไหม) และของที่ระลึกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ประเพณีผูกเสี่ยว ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า "เสี่ยว" เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกัน

พิธีกรรม
อุปกรณ์ที่สำคัญมีพานบายศรีอาจเป็นบายศรี ๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น และมีเครื่องประกอบอีกหลายอย่าง คือ สุรา ๑ ขวด ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง ข้าวต้มมัด ๔ ห่อ กล้วยสุก ๔ ผล ข้าวเหนียวนึ่ง ๑ ปั้น ใบพืชที่เป็นมงคล เช่น ใบคูน ใบเงิน ใบทอง ใบยอ ดอกรัก และที่ขาดไม่ได้คือ ฝ้ายผูกแขน
เชิญแขกมงคลมาร่วมพิธี คู่เสี่ยวนั่งล้อมพานบายศรี หมอพราหมณ์เริ่มพิธีด้วยการจุดเทียนที่พานบายศรี อัญเชิญเทวดาลงมาเป็นสักขีพยาน กล่าวถึงงานบายศรีสู่ขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส มีบุตรใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ การเลื่อนยศ การผูกเสี่ยว การบวชนาค ฯลฯ แล้วกล่าวคำอัญเชิญขวัญตามโอกาส เมื่อถึงบทเชิญขวัญผู้ร่วมพิธีจะตะโกนเรียกขวัญของผู้ร่วมพิธีให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว จบแล้วหมอพราหมณ์และแขกจะนำด้วยมงคลผูกข้อมือของคู่ขวัญ พร้อมทั้งให้ศีลให้พร ให้รักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต่อจากนั้นคู่ขวัญก็จะผูกข้อมือซึ่งกันและกัน เป็นอันเสร็จพิธี

สาระ
เรียกขวัญเพื่อเป็นการเตือนสติให้รู้จักภาวะของตนเอง เช่น จะแต่งงาน บวช หรือเสี่ยว จะต้องปฏิบัติอย่างไร เชื่อกันว่า ขวัญสิงสถิตอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจ เมื่อทำพิธีเรียกขวัญแล้วก็จะเกิดพลังกายและพลังใจที่เข้มแข็งได้

ทอดผ้าป่าแถว



ช่วงเวลา
ในอดีต กระทำเฉพาะในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ณ วัดบาง ปัจจุบัน กระทำในวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ณ วัดบาง และในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ณ วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ความสำคัญ
เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ ในอดีต เนื่องจากในเขตชุมชนเมืองกำแพงเพชรมีวัดสำคัญ ๓ วัด คือ วัดบาง วัดคูยาง วัดเสด็จ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดพิธีบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวเมืองจึงนัดหมายกันประกอบพิธีบุญใหญ่หมุนเวียนกันไปตามวัดทั้ง ๓ วัด เมื่อกำหนดประกอบพิธีบุญใหญ่ในวัดใด ก็จะนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นอีก ๒ วัดมาร่วมประกอบพิธีกันในคราวเดียว

พิธีกรรม
ในเวลาเย็นก่อนทำพิธีลอยกระทง ศาสนิกชนทั้งผู้สูงอายุ หนุ่มสาว และเด็ก ในแต่ละครอบครัวจะนำผ้าซึ่งอาจจะเป็นผ้าสบง จีวร หรือ ผ้าเช็ดตัวสีเหลือง และเครื่องไทยธรรมมี ธูป เทียน หอม กระเทียม พริกแห้ง น้ำตาลทราย ไม้ขีดไฟ เป็นต้น จัดบรรจุในชะลอมหรือภาชนะอื่นๆ ไปรวมกันในสถานที่ที่นัดหมายกันไว้กรรมการวัดจะเตรียมกิ่งไม้สดพร้อมใบไม้ปักแสดงตำแหน่งไว้เป็นแถว ๆ ต่างว่าเป็นป่าเมื่อชาวบ้านแขวนผ้าที่นำมาไว้บนกิ่งไม้จึงเรียกว่าผ้าป่าแถว เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว เจ้าของผ้าป่าจะไปจับสลากชื่อฉายาของพระสงฆ์ที่จะมาชักผ้าป่าของตนแล้วนำชื่อฉายานั้นมาติดแสดงไว้ที่ผ้าป่า หลังจากนั้นต่างก็จับกลุ่มกันรอเวลาที่พระสงฆ์จะมาส่องไฟหาชื่อฉายาของท่าน ซึ่งกว่าจะพบก็เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ และหนุ่มสาวที่คอยให้กำลังใจแก่พระสงฆ์ เมื่อพบชื่อฉายาของท่านที่กองผ้าป่าใด ท่านก็จะทำพิธีชักผ้าป่า พร้อมกับสวดมนต์ให้พรแก่เจ้าของกองผ้าป่าเป็นเสร็จพิธี

สาระ
แสดงถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาวเมืองกำแพงเพชรในการจัดการให้เกิดความสะดวกแก่การประกอบพิธีบุญร่วมกัน และส่วนของความสนุกสนานก็นับว่าเป็นกุศโลบายนำเด็กและเยาวชนให้รู้จักและสืบทอดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นต่อไป

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.prapayneethai.com/th/tradition/north/view.asp?id=0250

งานมหกรรมโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์



ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์-๖ มีนาคม ของทุกปี

ความสำคัญ
โปงลาง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้เพราะโปงลางได้เปลี่ยนสภาพจากขอลอหรือเกราะลอ มาเป็นเครื่องดนตรีธรรมชาติประเภทเครื่องตีไม้ โดยปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดกาฬสินธุ์คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชิ้นอื่น ๆ จนเกิดเป็นวงดนตรีโปงลาง มีการคิดท่าฟ้อนประกอบลายโปงลางรวมทั้งการแสดงต่าง ๆ ที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิตธรรมชาติของคนชนบทอีสาน จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงโปงลางที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ทรงร่วมวงโปงลาง บรรเลงลายเต้ยโขงและลายลมพัดพร้าว ที่พลิ้วหวานจับใจ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถือเอาวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันเริ่มงานมหกรรมโปงลาง แพรวาและกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์สืบต่อกันมา
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดให้มีการประกวดวงดนตรีและการแสดงโปงลาง โดยแบ่งประเภทวงออกเป็น ๓ ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับประชาชน โดยจัดให้มีการประกวดในช่วงเวลาของงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่นี้คือ งานมหกรรมประกวดดนตรีโปงลาง งานเทศกาลผ้าไหมแพรวา ที่เป็นสุดยอดของดีเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ อีกทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีโปงลางระดับประชาชน ถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาจากเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จากปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา นับว่าเป็นปีทองของดนตรี
โปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์เพราะดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดและประเทศไทย โดยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีพื้นเมืองนานาชาติ ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ ๑ ณ ประเทศตุรกี จนเป็นผลให้การแสดงดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

สาระ
งานมหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่จัดเป็นประจำทุกปี เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจกับงานเทศกาลนี้ โดยในแต่ละปีจะเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองเลื่องชื่อของจังหวัดไปปีละเป็นจำนวนมาก เป็นการส่งเสริมรายได้อุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย วัตถุประสงค์หลักของงานนี้มุ่งเผยแพร่ ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีและผลงานของส่วนราชการทั้งภาครัฐและเอกชนของจังหวัด แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป จุดเน้นสำคัญของงานคือขบวนแห่ในพิธีเปิดงานที่มโหฬารที่แสดงให้เห็นถึง ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างขึ้นจากคำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า "โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรม ผู้ไทย ผ้า
ไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี" ที่แสดงถึงความรักสามัคคี ความพร้อมเพรียง การรวมใจเป็นหนึ่งของผู้คนที่จะช่วยกันจรรโลง เชิดชูเกียรติ ชื่อเสียง และเอกลักษณ์ของเมืองกาฬสินธุ์ให้เป็นที่รู้จักสืบไป

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/north_east/view.asp?id=0492

ฮีตสิบสอง



ช่วงเวลา ความสำคัญ พิธีกรรม และ สาระ
ประเพณีท้องถิ่นกาฬสินธุ์ ยังยึดถือ และปฏิบัติตามฮีตสิบสอง คำว่า "ฮีต" หมายถึง จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี แบบแผนฮีตที่ถือปฏิบัติกันอยู่ ๑๒ อย่าง ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "บุญ" ดังนี้
๑. บุญข้าวกรรม
เกี่ยวกับพระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นอาบัติ ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในระหว่างภิกษุเข้ากรรม ญาติ โยม สาธุชน ผู้หวังบุญกุศล จะไปร่วมทำบุญบริจาคทาน รักษาศีลเจริญภาวนา และฟังธรรม เป็นการร่วมทำบุญระหว่างพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้าน
กำหนดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนอ้าย"
๒. บุญคูนลาน
การทำบุญคูนลาน จะทำที่วัด หรือที่บ้านก็ได้ โดยชาวบ้านจะเอาข้าวมารวมกัน แล้วนิมนต์พระภิกษุมาเจริญพระพุทธมนต์ จัดน้ำอบ น้ำหอมไว้ประพรม วนด้ายสายสิญจน์บริเวณรอบกองข้าว ตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาต และนำเอาน้ำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว ถ้าทำที่บ้านเรียกว่า "บุญกุ้มข้าว"
กำหนดในเดือนยี่ เรียกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนยี่
๓. บุญข้าวจี่
เดือนสามชาวบ้านนิยมทำบุญข้าวจี่ เพื่อถวายพระ เป็นการละทานชนิดหนึ่ง และถือว่าได้รับอานิสงส์มากงานหนึ่ง
กำหนดทำบุญในเดือนสาม
๔. บุญพระเวส
บุญที่มีการเทศพระเวส หรือบุญมหาชาติ หนังสือมหาชาติเป็นหนังสือชาดกที่แสดงจริยวัตรของพระพุทธเจ้า เมื่อเสวยชาติเป็นพระเวสสันดร
กำหนดทำบุญเดือนสี่ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนสี่"
๕. บุญสรงน้ำ
บุญสรงน้ำ มีการรดน้ำ หรือสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้หลักผู้ใหญ่ มีการทำบุญทำทาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญตรุษสงกรานต์"
กำหนดทำบุญในเดือน ห้า
๖. บุญบั้งไฟ
ก่อนการทำนาชาวบ้านในจังหวัดในภาคอิสาน จะมีการฉลองอย่างสนุกสนาน โดยการจุดบั้งไฟ เพื่อไปบอกพญาแถน เชื่อว่าจะทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล มีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามนำมาประกวดแห่ แข่งขันกันในวันรุ่งขึ้น กำหนดทำบุญในเดือน หก
๗. บุญซำฮะ
ซำฮะ คือการชำระล้างสิ่งสกปรก รกรุงรังให้สะอาดหมดจด เมื่อถึงเดือน ๗ ชาวบ้านจะรวมกันทำบุญโดยยึดเอา "ผาม หรือศาลากลางบ้าน" เป็นสถานที่ทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน โอน้ำ ฝ้ายใน ไหมหลอด ฝ้ายผูกแขน แห่ทรายมารวมกันที่ ผามหรือศาลากลางบ้าน ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายอาหาร เมื่อเสร็จพิธีทุกคนจะนำน้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน แห่ทรายของตนกลับบ้าน นำน้ำมนต์ไปรดลูกหลาน ทรายนำไปหว่านรอบบ้าน ฝ้ายผูกแขนนำไปผุกข้อมือลูกหลานเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลตลอดปี ถ้ามีการเจ็บไข้ได้ป่วยต้องมีการสวดถอด เป็นต้น
กำหนด ทำบุญในเดือน ๗
๘. บุญเข้าพรรษา
ในเทศกาลเข้าพรรษา เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ ส่วนคฤหัสถ์ก็จะต้องบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้เต็มเปี่ยม ตอนเช้าญาติโยมจะนำอาหารมาถวายพระภิกษุ ตอนบ่ายนำดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสาร ผ้าอาบน้ำฝน รวมกันที่ศาลาวัด ตอนเย็นญาติโยมพากันทำวัตรเย็นแล้วฟังเทศน์
กำหนด วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือน ๘"
๙. บุญข้าวประดับดิน
ห่ออาหาร และของขบเคี้ยวเป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายวางแบไว้กับดิน จึงเรียกว่า "บุญข้าวประดับดิน" ชาวบ้านจะจัดอาหารคาว หวาน และหมากพลู บุหรี่ กะว่าให้ได้ ๔ ส่วน ส่วนที่ ๑ เลี้ยงดูกันในครอบครัว
ส่วนที่ ๒ แจกให้ญาติพี่น้อง
ส่วนที่ ๓ อุทิศไปให้ญาติที่ตาย
ส่วนที่ ๔ นำไปถวายพระสงฆ์
ทำเป็นห่อๆให้ได้พอควร โดยนำใบตองกล้วย มาห่อของคาว หวาน หมากพลู บุหรี่ แล้วเย็บรวมกันเป็นห่อใหญ่ ในระหว่าง เช้ามืดในวันรุ่งขึ้นจะนำห่อเหล่านี้ไปวางไว้บริเวณวัด ด้วยถือว่าญาติพี่น้องจะมารับของที่นั่น (เชื่อกันว่าเป็นวันยมทูตเปิดนรกชั่วคราว ให้สัตว์นรก มารับของทานในระยะหนึ่ง และยังถือว่าเป็นวันกตัญญูอีกด้วย) ตอนเช้านำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปถวายพระ ฟังพระธรรมเทศนา เสร็จแล้วทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
กำหนดทำบุญในเดือน ๙
๑๐. บุญข้าวสาก
การเขียนชื่อลงในพาข้าว (สำรับกับข้าว) เรียกว่าข้าวสาก (สลาก) ญาติโยมจะจัดอาหารเป็นห่อๆ แล้วนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ โดยทำกันในตอนกลางวัน ก่อนเพล เป็นอาหาร คาว หวาน พอถึงเวลา ๔ โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม (รวม) ญาติโยมจะนำพาข้าว (สำรับกับข้าว) ของตนมารวมกัน ณ ศาลาการเปรียญ เจ้าภาพจะเขียนชื่อลงในกระดาษม้วนลงในบาตร เมื่อพร้อมแล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายสลากภัต จบแล้วยกบาตรสลากไปให้พระจับ ถูกชื่อใคร ก็ให้ไปถวายพระองค์นั้น ก่อนจะถวายพาข้าวให้นำพาข้าว ๑ พา มาวางหน้าพระเถระ แล้วให้พระเถระ กล่าวคำอุปโลกน์
กำหนด บุญข้าวสากนิยมทำกันในเดือน ๑๐
๑๑. บุญออกพรรษา
การทำบุญออกพรรษานี้ เป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันได้ พระภิกษุสงฆ์สามารถเดินทางไปอบรมศีลธรรม หรือไปเยี่ยม ถามข่าวคราว ญาติพี่น้องได้ และภิกษุสงฆ์สามารถหาผ้ามาผลัดเปลี่ยนได้
เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่เช้ามืดจะมีการตีระฆังให้พระสงฆ์ไปรวมกันที่โบสถ์แสดงอาบัติเช้า จบแล้วมีการปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้
กำหนด บุญออกพรรษาในเดือน ๑๑
๑๒. บุญกฐิน
ผ้าที่ใช้สดึงทำเป็นกรอบขึงเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผู้ใดศรัทธา ปรารถนาจะถวายผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งให้เขียนสลาก (ใบจอง) ไปติดไว้ที่ผนังโบสถ์ หรือศาลาวัด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นจองทับ เมื่อถึงวันกำหนดก็บอกญาติโยมให้มาร่วมทำบุญ มีมหรสพสมโภช และฟังเทศน์ รุ่งเช้าก็นำผ้ากฐินไปทอดถวายที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี
กำหนด ทำบุญระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.prapayneethai.com/th/tradition/north_east/view.asp?id=0493