วัฒนธรมมต่างๆและเทศกาลต่างๆ
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยแบ่งได้เป็น3ประเภท 1.วัฒนธรรมหลวง 2.วัฒนธรรมราษฏร์ 3.วัฒนธรรมสากล
วัฒนธรรมหลวง
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่ตกอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ ความเจริญทางวัตถุไหลบ่าเข้ามาตามกระบวนการสื่อสาร แบบไร้พรมแดน วิถีชีวิตของคนและวิธีสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนน่าหวาดวิตกว่าถ้าไม่รู้เท่าทันกระแสและปล่อยให้ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นมรดกของชาติที่น่าภาคภูมิใจเกิดการผสมผสานกับแนวนิยมใหม่ ๆ ที่ฉาบฉวยจนเจือจางเลือนลางไปแล้วอนุชนรุ่นหลังอาจไม่สามารถย้อนหลังดูร่องรอยความเป็นมา หรือรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมของเราได้ ี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่อนุรักษ์ ดัดแปลงและกอบกู้วัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่ดังสภาพที่เห็นในทุกวันนี้โดยมีพระราชกรณียกิจส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชพิธีต่าง ๆ ทรงเล็งเห็นคุณานุประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับคนในชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงทรงส่งเสริมและทำนุบำรุง ประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาอันยาวนานกว่า 50 ปี คำว่าพระราชพิธี จำกัดความหมายเฉพาะเป็นงานที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาให้จัดทำขึ้นตามลัทธิประเพณี เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลของประเทศและประชาชน หรือเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่สิริราชสมบัติพระบรมราชวงศ์และองค์พระมหากษัตริย์เอง หรือเพื่อน้อมนำให้ระลึกถึงความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา หรือเพื่อสำแดงความกตัญญูธรรมและระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อน ๆ ตลอดจนพระบรมราชบูรพการีที่ได้ทรงกระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนมาแล้วในอดีต การพระราชพิธีนั้นจะทำกันแบบเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างนั้นเห็นจะไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลเทศะบ้างเป็นธรรมดา ในหลักการนั้นหากจะเปลี่ยนแปลงก็จะต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อนจึงจะเปลี่ยนได้ แต่ก่อนที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนแปลงอะไรนั้น ก็จะต้องทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะความรู้สึกนิดคิดและความนิยมเชื่อถือจากประชาชนนั้นมีหลายฝ่าย บ้างก็เป็นหัวสมัยเห็นว่าลัทธิหรือประเพณีเก่าอะไรต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ของจำเป็น แต่ที่ยังมีความนิยมชมชอบเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นผู้มีคติธรรมและวัฒนธรรมของบรรพชน ฉะนั้นในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรเกี่ยวกับพระราชพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงได้ทรงถือหลักในทางสายกลาง คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในหลักการและความมุ่งหมายของพระราชพิธีนั้น ๆ จะเปลี่ยนแปลงก็เฉพาะในข้อปลีกย่อย เช่น ตัดทอนวันเวลาในการประกอบการพระราชพิธีให้น้อยลงบ้าง เปลี่ยนแปลงให้เกิดความประหยัดขึ้นบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาน้ำใจและขวัญของประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่าไว้โดยเสมอกัน
วัฒนธรรมราษฎร์
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเป็นไปที่ก่อให้เกิดแบบแผนปฏิบัติหรือวัฒนธรรมไทยนั้น เริ่มต้นที่หน่วยเล็กที่สุดในสังคม คือ ปัจเจกบุคคลไปถึงกลุ่มคน และสิ่งแวดล้อมรอบตัวคน วัฒนธรรมจะพัฒนาได้ก็ต้องอาศัยการพัฒนาส่วนประกอบย่อยเหล่านี้อย่างเหมาะสม ถูกกาละเทศะ และถูกทิศทาง
วัฒนธรรมสากล
การผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาวัฒนธรรมสากล เพราะมีความจำเป็นในการศึกษาเปรียบเทียบ และปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีให้เหมาะสมแก่การยอมรับเชื่อถือของนานาอารยประเทศ นอกจากนั้นการผูกไมตรีที่ดีต่อกันด้วย การไปมาหาสู่ยังเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสร้างสายสัมพันธ์ให้กระชับแน่นด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันสามารถผ่อนคลายปัญหาความ ไม่เข้าใจ ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ให้กลับเป็นเรื่องเล็ก และกลายเป็นไมตรีที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในที่สุดวิถีแห่งการสร้างไมตรีนี้จึงเป็นหนทาง ในการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่การพัฒนาวัฒนธรรมสากลอีกด้านหนึ่งอย่างเด่นชัด ด้วยเหตุนี้ในช่วงระยะเวลา 8 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2510 จึงเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เพื่อปฏิบัติพระราชภารกิจทางต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมสากลโดยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย สหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป และออสเตรเลีย รวมทั้งสิ้น 23 ประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆนั้น พระองค์ได้ทรงทำหน้าที่แทนประชาชนชาวไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ ทรงศึกษาความก้าวหน้าของวิทยาการโลก และทรงทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ พระราชภารกิจนั้นหนักแทบจะไม่ทรงมีเวลาพักผ่อนพระวรกาย เพื่อนำผลประโยชน์และความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศแต่ละครา ล้วนสร้างความประทับใจและเป็นที่กล่าวขานถึงในพระบารมีจนเลื่องลือขจรไกล ด้วยพระราชจริยวัตรอันงดงามสง่าของทั้งสองพระองค์ โดยเฉพาะพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเล่าถึงตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ที่ลอสแอนเจลิส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่วุ่นวาย ดุร้าย มากกว่าหนังสือพิมพ์ในรัฐใดๆ มีความตอนหนึ่งว่า " ครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกให้นักหนังสือพิมพ์เฝ้า ข้าพเจ้ายังจำได้ไม่มีวันลืมว่า ข้าพเจ้านั่งนิ่งไม่กระดุกกระดิกอยู่ข้างที่ประทับ มือเย็นเฉียบด้วยความกลัวเครื่องขยายเสียง เครื่องอัดเสียงเต็มไปหมด ไฟฉายตั้งส่องมาสว่างจ้าจนตาพร่า ทั้งมีแสงว้อบแว้บๆ อยู่ไม่ขาดระยะ ผู้คนช่างมากันมากมายเหลือเกิน นัยน์ตาทุกคู่จ้องเป๋งมาที่เราทั้งสอง เขาทั้งถ่ายรูป ถ่ายหนัง ถ่ายโทรทัศน์ ทั้งถวายสัมภาษณ์พร้อมกันไปหมด ข้าพเจ้าได้แต่นั่งภาวนาขออย่าให้ใครมายุ่งกับตัวข้าพเจ้าเลย ซึ่งก็นับว่าโชคดีพอใช้ เขาไม่ค่อยยุ่งด้วยเท่าไรนักดอก นอกจากฉายไฟส่องหน้าและถ่ายรูป ถ่ายหนัง แล้วเขาต่างก็เข้าไปรุมซักไซร้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการใหญ่ พอทรงตอบคนนั้นเสร็จ คนนี้ก็ถาม พอคนนี้เสร็จคนโน้นก็เริ่มถามอีกวนเวียนกันไปเรื่อยๆ เป็นเวลาตั้ง 40 นาทีเต็มๆ ที่ท่านถูกนักหนังสือพิมพ์อเมริกันรุม ดูๆแล้วก็คล้ายกับการซักซ้อมจำเลยมากกว่าการถวายสัมภาษณ์ ในที่สุดการเสด็จออกให้นักหนังสือพิมพ์เข้าเฝ้าเป็นครั้งแรกในชีวิตของเราทั้งสองก็สิ้นสุดลง ข้าพเจ้าแอบถอนใจยาวด้วยความโล่งอก เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อเมริกันซึ่งมาประจำเราอยู่ เข้ามาทูลถามพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวว่าทรงรู้สึกเป็นอย่างไรบ้างทรงหนักพระทัยไหม รับสั่งตอบว่า ตอนแรกๆ ก็เป็นบ้าง เพราะยังไม่เคยมาก่อนเลย เขากลับชมเปาะว่าทรงเก่งมากสำหรับเป็นครั้งแรก ภาษาที่ทรงใช้ก็ไม่ใช่ภาษาของท่านเอง เขาไม่เห็นทรงมีท่าทางสะทกสะท้านเลยแม้แต่น้อย เขาเคยติดตามคนสำคัญของประเทศต่างๆมาหลายรายแล้ว โดยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หลายครั้งที่เขาได้เห็นคนสำคัญออกให้นักหนังสือพิมพ์สัมภาษณ์แบบนี้ บางคนเหงื่อแตกท่วมตัว บางคนก็ติดอ่างจนพูดจาไม่รู้เรื่อง เสียบุคลิกลักษณะหมด ครั้นออกมาในโทรทัศน์แทนที่คนดูจะเห็นใจกลับหัวเราะเยาะหาว่า ไม่ได้ความเสียอีกก็มีเทศกาลลอยกระทง
ประวัติความเป็นมา คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้ 1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา 2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร 3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา 4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ 5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า 6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก 7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
เทศกาลสงกรานต์
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ" ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น