วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประเพณีแห่ผีตาโขน

ผีตาโขน วัดโพนชัย ด่านซ้าย จังหวัดเลย
ประเพณีแห่ผีตาโขน
• ประเพณีแห่ผีตาโขน จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า
"งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย
จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงาน
บุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์สองรัก ปูชนียสถาน
สำคัญของชาวด่านซ้าย



ต้นกำเนิดผีตาโขน
• กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะ
เดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิด
อาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์
กลับเมือง เรียกกันว่า "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน"
อย่างในปัจจุบัน 



ชนิดของผีตาโขน
• ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก 



• ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดา
ประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง
2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจน
ที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์
ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำ
ทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

(ขออภัย ภาพไม่ตรงกับบทความ ) 



• ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น
หรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิง
ไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน



การแต่งกายผีตาโขน
• ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจาก
กาบมะพร้าวแกะสลักและ สวมศีรษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะ
ประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน 



การละเล่นผีตาโขน
• เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง
จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ
มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆกัน จึงมี
การจัดงานกัน 3 วัน 



• วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของ
ขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อ
นิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหา
สมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้
อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมา
ถามว่า "ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่" ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า "ไม่ใช่" พอก้อนหินก้อน
ที่ 3 ให้ตอบว่า "ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง" เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว 
ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ
มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรือ
อยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับ
เสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง



• วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ 
พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ
ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดิน
ตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่
ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน 
ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้า
ใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่



• วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวม
กันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัด
โพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต

<a href="http://www.oceansmile.com/E/Leo/Pheetakhon.htm' target='_blank'>http://www.oceansmile.com/E/Leo/Pheetakhon.htm



ย่าไปกับห้องกล้องหัวฟู โดยเดินทางคืนวันที่ 3 ถึง วันที่ 4และ 5



ไปถึงก็ตลุยงาน หลังจะแวะไหว้พระ ที่พระธาตุศรีสองรัก
หลังจากนั้นก็ดิ่งมาที่งานที่วัดโพนชัย 



ชาวต่างชาติก็ให้ความสนใจมาเที่ยวชมงานนี้ด้วย



สีสดใสมาก 



เต้นกันสนุกสนาน



ลวดลวดลายสวยงาม จมูกทำจากไม้เนื้ออ่อนนำมาเหลาให้ได้รูปทรงสวยงาม
แล้วนำมายึดติดกับกาบมะพร้าวที่ตัดแต่งทำเป็นส่วนหน้ากาก 



ผู้ชมที่มาร่วมงาน แต่งตัวกันสวยงาม 



ทีมนี้เป็นทีมที่ออกมาเต้นแรกสุด สีแรงสุดๆๆ



ดูหน้าชัดๆๆ มีถือตุ๊กตาผีตาโขนมาด้วย 
ผีเด็กเจอะผีผู้ใหญ่



ดูลวดลายบนหน้ากากชัดๆๆ 



อีกสไตล์หนึ่ง 



แอ๊คท่าให้ถ่ายรูป



ไว้ต่อตอนสองนะคะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น